2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยรูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 มิถุนายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตมหาจุฬาขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 194-212  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยรูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต ให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป และ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในกิจกรรมแนะแนวด้วยรูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนจระเข้วิทยายน จำนวน 20 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ คือแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว โดยใช้รูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต จำนวน 6 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการ ประกอบด้วย แบบบันทึกการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตท้ายวงจร เป็นข้อสอบแบบ อัตนัย จำนวน 6 ข้อ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต เป็นแบบข้อสอบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต มีลักษณะเป็น จำนวน 20 ข้อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต โดยใช้การค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และคำนวณค่าร้อยละ (%) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 21.50 คิดเป็นร้อยละ 89.58 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 17 คน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต ภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคตในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.59) เมื่อนำมาพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกในการระบุปัญหาที่สำคัญที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดหาแนวทางในการแก้ปัญหา ( = 4.75, S.D. = 0.44)  
     คำสำคัญ กิจกรรมแนะแนว; การสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต; ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต 
ผู้เขียน
615050012-4 นาย อานันท์ กรมน้อย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0