2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E×2 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 มิถุนายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 213 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E×2 ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E×2 ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัวทุ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 12 คน รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน 4E×2 จำนวน 9 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ท้ายวงจร จำนวน 9 ข้อ และแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ท้ายวงจร จำนวน 36 ข้อ 3) เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 58.33 คิดเป็นร้อยละ 72.92 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 22.33 คิดเป็นร้อยละ 74.44 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  
     คำสำคัญ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์; ความสามารถในการคิดวิเคราะห์; รูปแบบการเรียนการสอน 4E×2 
ผู้เขียน
615050228-1 น.ส. สิรินรัตน์ ธีระเมธากุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0