ชื่อบทความ |
การศึกษานำร่องการรับรู้ความหมายและความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของยาสามัญประจำบ้าน
แผนโบราณของประชาชนจังหวัดชัยภูมิ: การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
2 กรกฎาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารเภสัชกรรมไทย |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กค-กย |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมความหมายของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณและความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดชัยภูมิต่อคุณลักษณะของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 5 ประการตามทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมซึ่งมีผลต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ความสอดรับกับค่านิยมในปัจจุบัน ความง่ายในการใช้ การสังเกตประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน ความสามารถในการหามาทดลองใช้ ประสิทธิภาพ และประโยชน์เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นในกลุ่มเดียวกัน วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณจำนวน 37 ราย การประมวลความคิดเห็นทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยจำแนกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามคำจำกัดความของทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่รับรู้ว่ายาสามัญประจำบ้านแผนโบราณคือยาที่เป็นสูตรตำรับดั้งเดิมของไทย การแยกระหว่างยาแผนโบราณกลุ่มอื่นกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณทำโดยสังเกตคำว่ายาสามัญประจำบ้านที่ปรากฏบนฉลากบรรจุภัณฑ์ และสถานที่ขาย ความคิดเห็นต่อยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณใน 5 คุณลักษณะมีดังนี้ 1) เป็นยาที่น่าเชื่อถือ มีความสอดรับกับค่านิยมในปัจจุบันเนื่องจากมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาล 2) ยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีวิธีการใช้ยาที่ยุ่งยาก รสชาติไม่ดี แต่มีรูปแบบที่สามารถพกพาได้ง่าย 3) สามารถซื้อมาทดลองได้โดยไม่ยุ่งยากเนื่องจากไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ขณะเดียวกันก็หาซื้อได้ยากเนื่องจากไม่ค่อยมีร้านค้านำมาจำหน่าย 4) ประสิทธิภาพในการรักษาอาการที่ไม่รุนแรง แต่ต้องใช้ปริมาณที่มากจึงจะเห็นผล และมีความปลอดภัย 5) เมื่อเทียบกับยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันที่ใช้ในการใช้รักษาอาการเดียวกันแล้ว ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณราคาแพงกว่า แต่มีความปลอดภัยมากกว่า สรุป: ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้มีความเห็นในทิศทางเชิงบวกต่อคุณลักษณะของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ มีแนวโน้มยอมรับการใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษาอาการป่วยเบื้องต้น อย่างไรก็ตามการวิจัยพัฒนาตำรับให้มีความน่าใช้และลดต้นทุนการผลิตน่าจะช่วยส่งเสริมการยอมรับผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น |
คำสำคัญ |
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ การใช้ยาด้วยตนเอง การดูแลตนเอง การแพร่กระจายนวัตกรรม |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|