2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ อิทธิพลของการให้สังกะสีซัลเฟตต่อการเจริญเติบโต และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ในน้ำอ้อยของอ้อยที่ปลูกภายใต้สภาพดินทราย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 มีนาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเกษตรพระวรุณ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 17 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 11-20 
     บทคัดย่อ การขาดธาตุสังกะสีเป็นหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อย โดยเฉพาะดินทรายซึ่งเป็นดินที่พบการขาดธาตุสังกะสี การให้ปุ๋ยสังกะสีในระบบการปลูกอ้อยในพื้นที่ดินทรายจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดธาตุสังกะสีรวมทั้งช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้สังกะสีต่อการเจริญเติบโต และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ในน้ำอ้อยของอ้อยที่ปลูกในพื้นที่ดินทรายเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 5 กรรมวิธี 3 ซ้ำ: 1) ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและไม่ใส่ปุ๋ยสังกะสี (ควบคุม) 2) ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว 3) ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยสังกะสีอัตรา 4 กิโลกรัมสังกะสีต่อเฮกตาร์ 4) ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยสังกะสีอัตรา 8 กิโลกรัมสังกะสีต่อเฮกตาร์ และ 5) ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยสังกะสีอัตรา 10 กิโลกรัมสังกะสีต่อเฮกตาร์ ผลการศึกษาการให้ปุ๋ยสังกะสีในรูปสังกะสีซัลเฟตในระบบการปลูกอ้อยของพื้นที่ดินทราย พบว่า ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ค่าความเขียวเข้มของใบ และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ในน้ำอ้อย ไม่มีความแตกต่างในแต่ละกรรมวิธี (P<0.05) อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยสังกะสีอัตรา 4 กิโลกรัมสังกะสีต่อเฮกตาร์ ส่งผลให้อ้อยมีการแตกกอสูงที่สุด (7.78 หน่อ/กอ) และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม และกรรมวิธีใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว  
     คำสำคัญ สังกะสี ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ในน้ำอ้อย และ ดินทราย 
ผู้เขียน
615030028-1 น.ส. รัชนีกร หาญสุด [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0