2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบคุณภาพเกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวมและแบบแยกองค์ประกอบในการประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 27 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา หาคุณภาพของเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่มีรูปแบบของเกณฑ์การให้คะแนนต่างกัน โดยใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และเปรียบเทียบคุณภาพของเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่มีรูปแบบของเกณฑ์การให้คะแนนต่างกัน กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ และ ครูที่เคยเป็นกรรมการตัดสินโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ท่าน(จากการเลือกแบบเจาะจง) นักเรียนที่ได้รับการประเมินโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนโครงานวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 29 กลุ่ม เครื่องมือวิจัย คือ เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบภาพรวม (Holistic Rubric) และ เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบแยกองค์ประกอบ (Analytic Rubric) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช(MFRM) ซึ่งพิจารณา ดัชนีความเที่ยง (Reliability of Separation index) โดยจำแนกตามประเภทของแบบประเมินทั้ง 2 ประเภท ความเข้มงวดหรือความใจดีของผู้ตรวจ (Rater Leniency/ severity) และความเชื่อมั่นแยกส่วน (Separation Reliability) ของผู้ตรวจและผู้สอบ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 2 รูปแบบ คือ เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบแยกองค์ประกอบ และ เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบภาพรวม โดยประเด็นรายการเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 5 ประเด็น คือ 1) ความคิดสร้างสรรค์ 2) วิธีการศึกษาค้นคว้า 3) การเขียนรายงาน 4) การจัดแสดงผลงาน และ 5) การนำเสนอ กำหนดระดับคะแนน เป็น 5 ระดับคะแนน คือ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 คะแนน ตามลำดับ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของประเด็น และรายละเอียดของประเด็นที่ใช้ในเกณฑ์การให้คะแนนโครงงาน ผลการตรวจสอบพบว่าเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบแยกองค์ประกอบ มีค่า IOC อยู่ที่ 0.93 และเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบภาพรวม มีค่า IOC อยู่ที่ 1.00 ซึ่งอยูในเกณฑ์ที่รับได้ โดยอ้างอิงจาก (สุวิมล ติรกานันท์, 2551) ผลการตรวจสอบคุณภาพของเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน(Rater Agreement Index - RAI)ของเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบแยกองค์ประกอบ(RAI=0.873) และเกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม(RAI=0.865) แสดงว่าเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเที่ยงในการให้คะแนนและผู้ประเมินสามารถประเมินได้สอดคล้องกันอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของผู้ประเมิน พบว่าผู้ประเมินสามารถประเมินได้สอดคล้องกับความสามารถของผู้ถูกประเมิน(ค่า INFIT และ OUTFIT อยู่ระหว่าง 0.6 – 1.4) ผู้ประเมินทุกคนมีคุณลักษณะเข้มงวด (ค่า Measure มากกว่า +1.00 ทุกคน) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบแยกองค์ประกอบ (Analytic) และแบบภาพรวม (Holistic) วิเคราะห์ด้วยโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช (MFRM) พบว่า ผู้ประเมินที่ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic) มีค่า INFIT = 0.69 ค่า OUTFIT = 0.66 และผู้ประเมินที่ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม (Holistic) มีค่า INFIT = 1.82 ค่า OUTFIT = 1.92 แสดงว่า เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบแยกองค์ประกอบ (Analytic) สามารถประเมินได้สอดคล้องกับความสามารถของผู้ถูกประเมินมากกว่าเกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์แบบภาพรวม (Holistic) (ค่าที่รับได้ 0.6 – 1.4 Liancre,1994) 
     คำสำคัญ เกณฑ์การให้คะแนนโครงงานวิทยาศาสตร์ , เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม ,เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ , โมเดลหลายองค์ประกอบของราช์ส 
ผู้เขียน
595050102-1 น.ส. ศุภมาส ห้อยพรมราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0