ชื่อบทความ |
เศรษฐศาสตร์การเมือง กับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอุดมการณ์สู่การกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
28 กรกฎาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
|
ฉบับที่ |
|
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้มุ่งศึกษาเงื่อนไขการกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ ในจังหวัดขอนแก่น โดยการวิเคราะห์ตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง เน้นการวิพากษ์วิเคราะห์มิติเชิงประวัติศาสตร์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นองค์รวม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกต เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ได้อย่างครอบคลุม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้รู้ในชุมชน 4 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 3 คน เกษตรกรผู้ประกอบการ 15 คน และสมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ประกอบการ 4 คน ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง และการบอกต่อ ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนและค่านิยมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญปัญหาและความเสี่ยงหลายด้าน นำมาซึ่งความจำเป็นในการปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ สู่การมีระบบคิดที่อิงอยู่กับการคิดคำนวณต้นทุนและผลกำไรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีอุดมการณ์ในการผลิตทางการเกษตรที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการมีทักษะความสามารถ ประสบการณ์ และต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับระบบตลาด นโยบายการพัฒนา และเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม และค่านิยมอุดมการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จนนำมาสู่การตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต การค้า การลงทุนให้มีความหลากหลาย เพื่อการยกระดับทางอาชีพสู่การเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการได้ในที่สุด |
คำสำคัญ |
เศรษฐศาสตร์การเมือง การเปลี่ยนแปลง ค่านิยมอุดมการณ์ เกษตรกรผู้ประกอบการ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|