ชื่อบทความ |
วัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด และกระบวนการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้กระทำความผิด ในกรณีปราบปรามและสังหารผู้ชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
11 ธันวาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ISBN/ISSN |
1906-3431 |
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
5 |
เดือน |
กันยายน-ตุลาคม 2562 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
1465-1481 |
บทคัดย่อ |
ารวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะความรุนแรง 2) ศึกษากระบวนการในการสร้างความชอบธรรมให้ผู้กระทำความผิด และ3) ศึกษาการไม่นำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ จากกรณีที่เคย เกิดขึ้นทั้ง 4 คือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และการปราบปรามการชุมนุม ในเดือนพฤษภาคม 2553 โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าทั้งสี่เหตุการณ์ มีการใช้กองทัพเพื่อก่อความรุนแรงในด้านกายภาพอย่างชัดเจน ขณะที่การสร้างความชอบธรรมเหตุการณ์ทั้งสี่ ได้นำประเด็นด้านความมั่นคงมาอ้างรองรับความรุนแรง ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างตามบริบทและสาเหตุของเหตุการณ์ ส่วนกระบวนการไม่นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผู้บงการออกนอกประเทศก่อนมีการสอบสวนความผิด แต่ได้รับการซักฟอก จากกลุ่มบุคคลน่าเชื่อถือในสังคม ขณะที่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ ใช้กฎหมายนิรโทษกรรมในการสร้างการลอยนวลพ้นผิด ซึ่งต่างจากเหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ใช้กลไกขององค์กรอิสระในการซักฟอกความผิด |
คำสำคัญ |
การปราบปรามและสังหารผู้ชุมนุมทางการเมือง, การสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้กระทำความผิด, การลอยนวลผู้กระทำความผิด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|