Title of Article |
ภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอว และแนวทางในการวินิจฉัยทางคลินิก |
Date of Acceptance |
28 December 2017 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารกายภาพบำบัด |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
40 |
Issue |
2 |
Month |
- |
Year of Publication |
2020 |
Page |
|
Abstract |
ระบบความมั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอวทั้ง 3 ระบบย่อย ประกอบไปด้วย active subsystem, passive subsystem และ neural control subsystem ทำให้การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงขณะทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งความมั่นคงนี้มีความสำคัญต่อกระดูกสันหลัง เนื่องจากช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อระบบประสาทและชะลอความเสื่อมที่อาจเกิดจากการเคลื่อนไหว ถ้ามีระบบใดระบบหนึ่งสูญเสียการทำหน้าที่ไป ประกอบกับระบบที่เหลือไม่สามารถทำงานทดแทนได้ จะทำให้เกิดภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอว (lumbar instability) โดยภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ความไม่มั่นคงทางภาพถ่ายเอ็กซเรย์ของกระดูกสันหลังระดับเอว (radiological lumbar instability) และความไม่มั่นคงทางคลินิกของกระดูกสันหลังระดับเอว (clinical lumbar instability) ความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอว อาจพัฒนาไปเป็นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis) ที่มีความรุนแรงมากขึ ้นได้ในภายหลังเมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม หากบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยเข้าใจถึงลักษณะของพยาธิสภาพจะทำให้ตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของโรค และนำไปสู่การจัดการที่มีความเหมาะสม ซึ่งสามารถชะลอหรือยับยั้งกระบวนการการเกิดความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอวได้ในที่สุด ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอระบบความมั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอว ความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังระดับเอว ตลอดจนวิธีการวินิจฉัยทางคลินิก แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ที่มีความสนใจ |
Keyword |
lumbar instability, spinal stability system, radiological lumbar instability, clinical lumbar instability, low back pain |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|