2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 
Date of Acceptance 24 August 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  
     ISBN/ISSN SSN: 1906-1137 E-ISSN: 2651-1770  
     Volume 13 
     Issue
     Month ตุลาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2020 
     Page  
     Abstract วัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากการมารับการตรวจคัดกรองวัณโรคอยู่ในระดับต่ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค และเพื่อศึกษาความชุกการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity) มีค่าดัชนีความเหมาะสม (IOC : item objective congruence) เท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน Tuberculosis Case Management (TBCM Online) ในช่วงที่ศึกษา 1 ตุลาคม พ.ศ.2561– 30 กันยายน พ.ศ.2562 จำนวน 163 คน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds ratio (AOR), ค่า 95% Confidence interval (95%CI) และค่า p-value ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย คือ จำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน 4-6 คน (AOR=2.92, 95% CI=1.03-8.32, p-value= 0.044) วิธีการเดินทางมารับบริการโดยรถโดยสารสาธารณะ (AOR= 4.56, 95% CI= 1.90 -10.94, p-value=0.001) การไม่เคยได้รับสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันวัณโรค (AOR= 3.97, 95% CI= 1.79-8.78, p-value= 0.001) ความชุกการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 73.0 (95% CI=66.12-79.90) ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการมาตรวจคัดกรองวัณโรคโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคที่มีสมาชิกอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันมากกว่า 4 คน ต้องมีการติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงแบบเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมารับบริการโดยสารรถสาธารณะมีความสะดวกในการมารับบริการตรวจคัดกรอง และโรงพยาบาลควรมีการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันวัณโรคให้ทั้งผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่นในขณะเข้ารับบริการและการใช้ชีวิตประจำวัน  
     Keyword ผู้สัมผัสร่วมบ้าน วัณโรค การตรวจคัดกรอง 
Author
615110042-2 Miss NUTSIMA PATHAN [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0

<
forum