2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มพนักงานของรัฐ เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคความดันโลหิตสูงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ยังมีน้อย การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มพนักงานของรัฐในเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของรัฐ อายุ 35-60 ปี จำนวน 285 คน ภาวะความดันโลหิตสูงกำหนดโดยค่าความดันซีสโตลิก ≥ 140 mmHg หรือความดันไดแอสโตลิก ≥ 90 mmHg หรือมีการใช้ยาลดความดันโลหิตเป็นประจำ เก็บข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 63.9 มีอายุเฉลี่ย 42.8 ± 7.2 ปี อัตราความชุกโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างพบร้อยละ 26.7 เพศชายมีความชุกร้อยละ 31.9 และเพศหญิงร้อยละ 17.5 ปัจจัยที่พบมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ ≥ 45 ปี (ORAdj = 2.4, 95%Cl: 1.32,4.24, p = 0.004) ภาวะอ้วน (BMI ≥ 25 kg/m2) (ORAdj = 3.1, 95%Cl: 1.71,5.58, p = 0.001) การชอบรับประทานอาหารรสจัด (ORAdj = 2.8, 95%Cl: 1.48,5.21, p < 0.001) โดยสรุปหนึ่งในสี่ของพนักงานรัฐที่ศึกษามีภาวะความดันโลหิตสูง ควรมีโครงการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในพนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปและในคนอ้วน  
     คำสำคัญ ความชุก โรคความดันโลหิตสูง พนักงานของรัฐ สปป. ลาว 
ผู้เขียน
615110090-1 Mr. ANOUSAK LORVANSAY [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0