2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ภาวะเตี้ยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเตี้ยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเมืองเวียงทอง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2563
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ภาวะเตี้ยเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง รวมถึงใน สปป.ลาว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินอัตราความชุกของภาวะเตี้ยและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับภาวะเตี้ยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่อาศัยในเมืองเวียงทอง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และมารดาจำนวน 310 คน อาศัยอยู่ที่เมืองเวียงทอง แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล การเลี้ยงดูเด็กด้านอาหาร และสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กและมารดา โดยผู้วิจัยที่ผ่านการอบรม ประเมินภาวะเตี้ยและเตี้ยรุนแรง โดยใช้ส่วนสูงเทียบกับอายุที่มีค่า z score (HFAz) < -2SD และ <-3SD เป็นตัวบ่งชี้ โดยอ้างอิงมาตรฐานองค์การอนามัยโลก 2006 เก็บข้อมูลเดือน มีนาคม ถึง เมษายน 2563 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับภาวะเตี้ยของเด็กโดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า เด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 52.6 อายุเฉลี่ย 24.8 ± 16.2 เดือน มารดาเด็กมีอายุเฉลี่ย 27.3 ± 6.0 ปี เป็นชนเผ่าลาวลุ่ม ลาวสูงและลาวเทิงร้อยละ 43.6, 36.8 และ 19.7 ตามลำดับ ความชุกภาวะเตี้ยของเด็กกลุ่มตัวอย่าง พบร้อยละ 33.9 ในจำนวนนี้มีภาวะเตี้ยรุนแรงร้อยละ 11.0 ด้านการเลี้ยงดูเด็กด้านอาหารพบว่าเด็กได้รับนมแม่ทันทีหลังเกิดร้อยละ 73.9 และในช่วงอายุ 6 เดือนแรกได้รับนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 31.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเตี้ยของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เด็กเพศชาย (ORadj = 1.82, 95% CI: 1.08 – 3.06, p = 0.023) เด็กกลุ่มอายุ 12 – 35 เดือน (ORadj = 3.91, 95% CI: 1.93 – 7.91, p= 0.001) เด็กกลุ่มอายุ 36 เดือนขึ้นไป (ORadj = 4.17, 95% CI: 1.85 – 9.38, p = 0.001) อาศัยอยู่ในชนบท (ORadj = 2.11, 95% CI: 1.13 – 3.95, p = 0.019) และเป็นชนเผ่าลาวสูง (ORadj = 2.32, 95% CI: 1.22 – 4.41, p = 0.010) โดยสรุปหนึ่งในสามของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของเมืองเวียงทอง แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาวมีภาวะเตี้ย ซึ่งอาจส่งผลทำให้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ในอนาคต ดังนั้นการกำหนดนโยบายและดำเนินโครงการเพื่อลดภาวะเตี้ยของเด็กในสปป.ลาว เป็นความจำเป็นเร่งด่วนด้านสาธารณสุข โดยเน้นด้านการเลี้ยงดูเด็กด้านอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวในชนบทที่มีลูกหลายคน และชนเผ่าลาวสูง 
     คำสำคัญ ภาวะเตี้ย, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, การเลี้ยงดูเด็กด้านอาหาร 
ผู้เขียน
615110092-7 Mr. LENG XIONGLAVANG [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0