2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์แลคเคสจาก Megasporoporia sp. KKU-LKNG-07 ด้วยวิธีการแบบปัจจัยเดียวและวิธีการพื้นผิวตอบสนอง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร UBU Engineering Journal 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 1906-392X 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยมีเป้าหมายเพื่อคัดแยกราจากตัวอย่างเห็ดที่เก็บมาจากอุทยานแห่งชาติลำคลองงู จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย และหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์แลคเคสจากรา จากการศึกษาพบว่าราที่มีความสามารถในการผลิตแลคเคสมี 3 ตัวอย่าง ได้แก่ KKU-LKNG-04, KKU-LKNG-07 และ KKU-LKNG-16 ซึ่งเมื่อระบุชนิดของราโดยการวิเคราะห์ยีนบริเวณ ITS rRNA พบว่าราเหล่านี้ (KKU-LKNG-04, KKU-LKNG-07 และ KKU-LKNG-16) มีความคล้ายคลึงกับกับราสายพันธุ์ Ganoderma lucidum, Megasporoporia sp. และ Rigidopolus vinctus ตามลำดับ ราที่มีศักยภาพในการสามารถผลิตแลคเคสได้มากที่สุด คือ Megasporoporia sp. KKU-LKNG-07 โดยใช้ชานอ้อยในการเลี้ยงราโดยวิธีการหมักแบบอาหารแข็ง การเพาะเลี้ยงราได้ศึกษาผลของปัจจัยในการผลิตเอนไซม์แลคเคสด้วยวิธีปัจจัยเดียวและได้ทำนายสภาวะเพาะเลี้ยงราที่เหมาะสมด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน ซึ่งผลการทดลองด้วยวิธีปัจจัยเดียวพบว่าความเข้มข้นของแหล่งไนโตรเจน พีเอช และอุณหภูมิในการบ่มเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงราอย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อทำนายสภาวะเพาะเลี้ยงราที่เหมาะสมได้ผลการผลิตเอนไซม์แลคเคสด้วย Megasporoporia sp. KKU-LKNG-07 สูงสุดภายใต้สภาวะที่มีความเข้มข้นของแหล่งไนโตรเจน พีเอช และอุณหภูมิในการบ่ม เท่ากับ 4.17 กรัมต่อลิตร 8.45 และ 29.55 องศาเซลเซียส ตามลำดับ โดยสามารถผลิตแลคเคสได้ 5.58 ยูนิตต่อมิลลิลิตร จากนั้นเมื่อเพาะเลี้ยงราด้วยสภาวะที่เหมาะสมดังกล่าวพบว่า Megasporoporia sp. KKU-LKNG-07 สามารถผลิตเอนไซม์แลคเคสได้ 5.48 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่ทำนายไว้ ผลการศึกษาบ่งชี้ความเป็นไปได้ในการผลิตแลคเคสจากราและการทำนายสภาวะการผลิตที่เหมาะสมซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้าในอนาคต 
     คำสำคัญ แลคเคส Megasporoporia sp. การหมักแบบอาหารแข็ง สภาวะที่เหมาะสม 
ผู้เขียน
567040056-9 นาย วิทวัส ทุมแสน [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0