2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุโดยประยุกต์แนวคิดความรอบรู้กิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันประชากรโลกกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้เนื่องจากว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ผลตามมาปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม นอกจากนี้พบว่าผู้สูงอายุออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอหรือขาดการออกกำลังกายคือมีผู้สูงอายุเป็นประจำเพียงร้อยละ 33.90 การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยประยุกต์แนวคิดความรอบรู้กิจกรรมทางกาย ระยะดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 และ ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง อายุระหว่าง 60 - 69 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 และกลุ่มเปรียบเทียบผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์แพทย์ชาตะผดุง กลุ่มละ 30 คน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1) การให้ความรู้การมีกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ 2) การสร้างแรงจูงใจในการมีกิจกรรมทางกาย 3) การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 4) การสนับสนุนอุปกรณ์ออกกำลังกาย รองเท้ายางยืด ขวดทราย ไม้ยืดเหยียด ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มใช้สถิติ Paired t-test และ ระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ การมีกิจกรรมทางกาย มากกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) การทดสอบสมรรถภาพทางกาย สูงกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)  
     คำสำคัญ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย, ความรอบรู้กิจกรรมทางกาย, สมรรถภาพทางกาย 
ผู้เขียน
615110097-7 นาย วิมล ปักกุนนัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0