2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผญาส่องบั้งไฟ : ภาพชีวิตของชาวบ้านยางใหญ่ ต.เมืองแคน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 5 "ศิลปะสร้างโลก" Art Create the World 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ้นเตอร์  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1019 - 1030 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพชีวิตของชาวบ้านยางใหญ่ ต.เมืองแคน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ที่ปรากฎผ่านผญาส่องบั้งไฟ จากการศึกษาพบว่า ผญาส่องบั้งไฟ หมายถึง กลอนพื้นบ้านที่นำมาพูดในการจัดรายการเยี่ยมค่ายบั้งไฟ พูดในพิธีเปิดบุญบั้งไฟ และนำมาพูดในวันจุดบั้งไฟ โดยมีทั้งกลอน ยกอ้อยอครู กลอนเปิดงาน กลอนพิธีการ กลอนประจำของบั้งไฟแต่ละบั้งของแต่ละคุ้ม กลอนส่งท้ายหรือกลอนอำลาของชาวบ้านยางใหญ่ ภาพชีวิตของชาวบ้านยางใหญ่ ที่ปรากฏผ่านผญาส่องบั้งไฟ มีดังนี้ 1) บั้นออนซอนหลาย ปรากฏภาพชีวิตด้านระบบความเชื่อ เรื่อง บุญ-บาป ทางพระพุทธศาสนา 2) บั้นยอดฮิต พ.ศ. 2543 ปรากฏภาพชีวิตด้านระบบค่านิยมที่ยึดมั่นในขนบประเพณีของหมู่บ้าน 3) บั้นหลานปู่ตา กกค้อ กำนันแก้ว ปรากฏภาพชีวิตด้านสภาพความเป็นอยู่ สภาพทางอาชีพของชาวบ้านซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม 4) บั้นเฒ่าใส ผู้ไร้รัก ปรากฏภาพชีวิตด้านระบบครอบครัว ในเรื่องคู่ครองและสินสอด 5) บั้นทีมงานศักดิ์จ่อยแก่นแดนลำดวน ปรากฏภาพชีวิตด้านวัฒนธรรมในการบริโภค เรื่องอาหารตามธรรมชาติ หาได้ในหมู่บ้านไม่ต้องซื้อหา 6) บั้นปทุมทองหลานอีปู่ ดอนป่าโพธิ์ เจ้าฉบับอู๋ไข่เน่า พ.ศ. 2548 ปรากฏภาพชีวิตด้านระบบค่านิยมของชาวบ้านที่มีความยึดมั่นในขนบประเพณีและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยังปรากฏภาพชีวิตด้านสภาพความเป็นอยู่ สภาพทางอาชีพ ที่ประสบปัญหาราคาข้าวและผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ และ 7) บั้นส่งท้ายผ้าป่าเมือบ้าน ปรากฏภาพชีวิต ด้านระบบค่านิยม ที่มีความยึดมั่นในขนบประเพณี และค่านิยมความกตัญญูความผูกพันธุ์ และความรักบ้านเกิดเป็นสำคัญ  
ผู้เขียน
617220002-5 นาย เฉลิมพล แสงแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0