2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยคัดสรรทำนายประสิทธิผลการนิเทศในคลินิกทางการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 8 Selected Factors Influencing Effective Clinical Nursing Supervision in Community Hospital at Heath Regional 8 (Thailand)  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN 1906-2605 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) แบบการทำนาย เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยคัดสรรการนิเทศกับประสิทธิผลการนิเทศในคลินิก มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการนิเทศในคลินิกทางการพยาบาล และ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยด้านองค์กรการนิเทศในคลินิก ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้นิเทศในคลินิก กับประสิทธิผลการนิเทศในคลินิกตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้นิเทศ ประชากรในการวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปี ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 - 90 เตียง เขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 978 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 168 ราย ได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ (systematic random sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมุติฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนิเทศในคลินิกทางการพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้นิเทศ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson ' s Moment Correlation Coefficient) และหาตัวทำนายประสิทธิผลการนิเทศในคลินิก โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการนิเทศในคลินิกในโรงพยาบาลชุมชน ในเขตสุขภาพที่ 8 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x ̅= 3.79, S.D.=0.58) 2) ปัจจัยคัดสรรที่สามารถทำนายประสิทธิผลการนิเทศในคลินิก คือปัจจัยด้านองค์กร ในข้อนโยบายด้านการนิเทศในคลินิก ได้ร้อยละ 16.8 (R2 = .168, P < 0.01) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ต่อไปควรเพิ่มปัจจัยคัดสรร ด้านภาวะผู้นำ ทักษะการสื่อสาร เทคนิคการนิเทศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทัศนคติต่อการนิเทศ กระบวนการนิเทศ และศึกษาการรับรู้ในกลุ่มผู้นิเทศงานที่มีประสบการณ์ในการนิเทศงานในคลินิก  
     คำสำคัญ ประสิทธิผลการนิเทศ การนิเทศในคลินิกทางการพยาบาล  
ผู้เขียน
605060091-5 น.ส. อมรรัตน์ สำอางเนตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0