ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
สถานภาพความรู้การศึกษาเกี่ยวกับการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
4 กันยายน 2563 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์:ศิลปศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
สถานที่จัดประชุม |
ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ |
จังหวัด/รัฐ |
เชียงใหม่ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
4 กันยายน 2563 |
ถึง |
4 กันยายน 2563 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
1 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
73-74 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการนำเสนอสถานภาพความรู้การศึกษาเกี่ยวกับการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในประเทศไทย เน้นศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเมือง และพื้นที่ในมหาวิทยาลัยจากกรณีศึกษา ตลอดจนแนวคิดและปัจจัยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดการประเมินศักยภาพของพื้นที่ในประเด็นการศึกษาดังกล่าว โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาในรูปแบบ Documentary Research ที่ศึกษาจากการรวบรวมงานวิจัย บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งหมด 7 ชิ้นงานวิจัยที่ศึกษาในช่วงระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 -2558 และนำเสนอสรุปด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ โดยผลจากนำเสนอบทความนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้วิจัยและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาการเดินและการใช้จักรยานในพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ในมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ของการศึกษาในประเด็นนี้ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถนำมาเป็นแนวทางในวางแผนพัฒนาเมืองที่เกี่ยวข้องในประเด็นการเดินทางภายในเมือง จากการศึกษาพบว่า งานศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาที่ไม่ใช่เครื่องยนต์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นงานที่เน้นเกี่ยวกับการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเชื่อมต่อเข้าสถานีและการศึกษาในประเด็นทางกายภาพของพื้นที่ทางเดินทางและทางจักรยาน การใช้พื้นที่และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การวัดศักยภาพของพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ และปัจจัยที่ส่งเสริมการเดินทาง เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการเดินทางโดยการเดินเท้าและจักรยานมากขึ้นในการวางแผนพัฒนาเมือง ผลที่ได้จากการศึกษานี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางการศึกษาการเดินเท้าและใช้จักรยานในอนาคต ตลอดจนเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเมืองด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้กับคนเมืองในอนาคตได้ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|