2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนฟื้นฟูเมืองอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์ใ้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาย่านศาลหลักเมืองขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 กันยายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมนุษย์ศาสตร์และสัคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 กันยายน 2563 
     ถึง 4 กันยายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 8-9 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในการออกแบบฐานข้อมูล และเสนอแนะแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลที่มีผลต่อการวางแผนพัฒนาฟื้นฟูเมืองอย่างยั่งยืนย่านเมืองเก่าของเมืองขอนแก่น โดยใช้พื้นที่ย่านศาลหลักเมืองขอนแก่นเป็นกรณีศึกษา ในการออกแบบสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ศึกษา ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองประเด็น คือ ความพึงพอใจในพื้นที่ศึกษาและความต้องการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ศึกษา จึงมีการรวบรวมข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจพื้นที่ศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง และกลุ่มผู้ที่ใช้พื้นที่ศึกษา โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติซึ่งมีทั้งหมด 17 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าประเด็นความต้องการฟื้นฟูพื้นที่ศึกษาถูกแบ่งออกเป็นสามด้าน ด้านเศรษฐกิจ คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชน ด้านกายภาพ คือการฟื้นฟูเส้นทางสัญจรการเดิน โดยเฉพาะฟุตบาท และด้านสังคม คือการฟื้นฟูพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนในพื้นที่ ทั้งนี้องค์ประกอบของข้อมูลที่จำเป็นต่อการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการฟื้นฟูย่านศาลหลักเมือง จำเป็นต้องแสดงข้อมูลพื้นที่ศึกษา และพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ศึกษา ในรูปแบบ Polygon โดยมีการแสดงข้อมูลคุณลักษณะของแต่ละขอบเขตพื้นที่ศึกษาและพื้นที่เกี่ยวเนื่องที่สำคัญ (Attributes) ตลอดจนชั้นข้อมูลที่เป็นจุด (Point) และข้อมูลที่เป็นเส้น (Line) ที่สัมพันธ์กับประเด็นการฟื้นฟูพื้นที่ด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ศึกษาเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านฐานข้อมูลอย่างยั่งยืนสำหรับการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต 
ผู้เขียน
595200015-2 นาย ชุติพงศ์ ทองเนตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0