ชื่อบทความ |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
10 กันยายน 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
14 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม ถึง มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ปัจจุบันโรคมาลาเรียยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลกและประเทศไทย แม้ว่าจะมีการดำเนินการเพื่อกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดภายในปี พ.ศ. 2569 แต่ก็ยังคงพบผู้ป่วยต่อเนื่องในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยออนไลน์จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.1 ศรีราชา ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ป่วยโรคมาลาเรียจำนวน 102 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นโรคมาลาเรียจำนวน 102 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆของการป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียด้วย multiple logistic regression และนำเสนอด้วยค่า ORadj ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่นที่ 95%
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรีย ได้แก่ เพศชาย (ORadj= 3.37, 95% CI = 1.54 - 9.02), ผู้ที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี (ORadj= 3.03, 95% CI = 1.30-7.07), กลุ่มที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ORadj=4.25, 95% CI = 1.69-10.67), การไม่ได้ใช้มุ้งชุบสารเคมี (ORadj= 9.28, 95% CI = 3.69-23.30), การทายากันยุงบางครั้ง (น้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์) หรือไม่ทาเลย (ORadj = 3.06, 95% CI = 1.33-7.03), การสวมใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกายมิดชิดบางครั้ง (น้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์) หรือไม่ปฏิบัติเลย (ORadj = 3.36, 95% CI = 1.39-8.11), และการไม่ได้รับการพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างจากเจ้าหน้าที่ (ORadj=11.53, 95% CI = 4.83-27.54)
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ควรส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงมีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ได้แก่ การทายากันยุง การใช้มุ้งชุบสารเคมี การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายมิดชิด และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการชุบมุ้ง และการพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างตลอดจนให้ความร่วมมือในการคัดกรอง การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีกลุ่มอาชีพที่ต้องเข้าไปในป่า
|
คำสำคัญ |
โรคมาลาเรีย ปัจจัยเสี่ยง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|