ชื่อบทความ |
การลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาธุรกิจผลิตและจำหน่ายประตูไม้ จังหวัดร้อยเอ็ด |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
9 กันยายน 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
ID 244179 |
ปีที่ |
5 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือมีความสำคัญต่อการลดต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง โดยอาศัยวิธีการลดความสูญเปล่าที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสูญเปล่าและเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือด้วยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์แผนผังกระบวนการ IDEF0 ร่วมกับการวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรม ตลอดจนวัดอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือและระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย รวมถึงวิเคราะห์ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง เมื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ผลการวิจัยพบว่าสามารถทำให้อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจาก 0.57 เท่า เป็น 0.74 เท่า ขณะที่ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ยลดจาก 635 วัน เป็น 493 วัน ส่งผลให้ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังลดลงจาก 2,754,585 บาท เป็น 2,007,715 บาท ผู้วิจัยจึงเสนอให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการลดสูญเปล่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ด้วยแนวทางที่ไม่ซับซ้อนและสะดวกต่อการสื่อสารไปยังพนักงานให้รับทราบโดยทั่วกัน ทั้งการนำหลักการ ECRS เข้ามาปรับปรุงกระบวนการ การกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเก็บและประมวลข้อมูล เพื่อเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในส่วนของการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของธุรกิจผลิตและจำหน่ายประตูไม้ได้ต่อไป |
คำสำคัญ |
ความสูญเปล่า กระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายประตูไม้ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|