2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุชจังหวัดนครราชสีมา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย Factor analysis of Medical Critical Care NursingCompetency in Tertiary Hospitals, Northeastern Thailand นุชกานดา เพชรมะดัน, พย.ม* และผศ.ดร.รัชตวรรณ ศรีตระกูล ** M.N.S. (Nursing Administration)*Ph.D (Nursing Administration)** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น** โทร 089-6259023, janicum@gmail.com* การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน 3 ปีขึ้นไปในหอผู้ป่วยหนักด้านอายุรกรรม31หอผู้ป่วยของโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ9แห่งจำนวน 405 ราย เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.986 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่0.3 ขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 8 ด้าน จำนวน 68 ตัวแปรอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 71.024 ดังนี้ 1. ด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมระยะสุดท้าย 2.ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล 3.ด้านปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม 4.ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยวิกฤตขั้นสูง 5.ด้านการบริหารยาผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม 6.ด้านการจัดการความปลอดภัย 7. ด้านการสื่อสาร 8. ด้านการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลวิกฤตอายุรกรรม ผลการวิจัยครั้งนี้ นำไปเป็นแนวทางการคัดสรรบุคลากร การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะรายบุคคลและวางแผนการจัดทำหลักสูตรเตรียมความพร้อมของพยาบาลใหม่หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม คำสำคัญ : สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ,การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม,โรงพยาบาลตติยภูมิ,การวิเคราะห์องค์ประกอบ  
     คำสำคัญ สมรรถนะการพยาบาลวิชาชีพ,การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม,โรงพยาบาลตติยภูมิ,การวิเคราะห์องค์ประกอบ 
ผู้เขียน
605060059-1 น.ส. นุชกานดา เพชรมะดัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0