2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมไม่ได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร : การศึกษาแบบจับคู่ย้อนหลัง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารกรมควบคุมโรค 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 
     ISBN/ISSN E-ISSN 2651-1649 
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคเบาหวานยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญผู้ป่วยส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้แนวโน้มการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพิ่มขึ้นตามมา การศึกษานี้มีวัตถุประประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร เป็นการศึกษาจากผลไปหาเหตุแบบจับคู่ (Matched case-control study) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูล 43 แฟ้มจังหวัดยโสธร ปีงบประมาณ 2562 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษาคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ (HbA1C ≥ 7 mg/dL) และกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ (HbA1C < 7 mg/dL) จับคู่เพศและอายุ ด้วยอัตราส่วน 1:1 จำนวน 330 คู่ รวมทั้งสิ้น 660 ราย วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Multivariate conditional logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.2 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี ร้อยละ 57.6 มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 67.4 ความยาวเส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 54.5 และมีระยะเวลาการป่วย < 10 ปี ร้อยละ 65.6 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุ เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการป่วยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (ORadj = 2.19, 95%CI = 1.52 – 3.17) ผู้ป่วยที่มีระดับไขมัน LDL สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ORadj = 2.30, 95%CI = 1.45 – 3.67) และผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj = 1.57, 95%CI = 1.13 – 3.18) ดังนั้นบุคลากรด้านสาธารณสุขควรส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบูรณาการรักษาโรคเบาหวานร่วมกับคลินิกเลิกเหล้า คำนึงถึงการตรวจระดับไขมันในเลือดและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ ตามแนวทางเวชปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ป่วยมาเป็นเวลานาน  
     คำสำคัญ ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เบาหวานชนิดที่ 2 ผู้สูงอายุ  
ผู้เขียน
615110052-9 น.ส. มนศภรณ์ สมหมาย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0