2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยการบริโภคอาหารกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก ในประชาชน อายุ 50-70 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 
Date of Acceptance 23 September 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN SSN:1906-1137 E-ISSN:2651-1170 
     Volume 14 
     Issue
     Month มกราคม-มีนาคม
     Year of Publication 2021 
     Page  
     Abstract บทคัดย่อ การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารมีผลต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง แต่การศึกษาการบริโภคอาหารกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal Immunochemical Test: FIT) ให้ผลบวกในปัจจุบันนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารและปัจจัยอื่นๆ กับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก ในประชาชน 50-70 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ case-control study ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน มีนาคม 2563 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 216 คน กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 108 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ 95% ผลการศึกษาพบว่า การบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj=1.39, 95%CI; 0.65-3.00, p=0.398) แต่พบว่า ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ORadj=2.38 , 95%CI; 1.15-4.90, p=0.019) ผู้ที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคในกลุ่มภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (ORadj=2.62 , 95%CI; 1.35-5.10 , p=0.005) และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj=2.08 , 95%CI: 1.15-3.75, p=0.015) มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งในชุมชนและ หน่วยบริการสุขภาพ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และการใช้ยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยด้วยโรคในกลุ่มกลุ่มภาวะ เมตาบอลิกซินโดรม เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในอนาคต  
     Keyword มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง การตรวจคัดกรอง การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ 
Author
615110039-1 Miss JARINYA CHUALINFA [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0