2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหา ในเด็กนักเรียนหญิง ระดับประถมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 23 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN SSN:1906-1137 E-ISSN:2651-1170 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคเหายังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในกลุ่มเด็กนักเรียน หากติดเชื้อนานและกลับเป็นซ้ำจะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการเรียน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาในเด็กนักเรียนหญิง การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Case-Control study กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 246 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มศึกษา คือ ผู้ปกครองของนักเรียนหญิงที่ตรวจสอบพบประวัติการได้รับยาฆ่าเหา (Benzyl benzoate) แล้วพบการกลับมาเป็นโรคเหาซ้ำ ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากการได้รับการรักษา จำนวน 123 คน และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ปกครองของนักเรียนหญิงที่ตรวจสอบพบประวัติการได้รับยาฆ่าเหา (Benzyl benzoate) แล้วไม่พบการกลับมาเป็นโรคเหาซ้ำ ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากการได้รับการรักษา จำนวน 123 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple Logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95% และค่า p-value ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาในเด็กนักเรียนหญิงประถมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เด็กนักเรียนที่มีระดับผมยาว (ORadj = 9.79, 95% CI = 2.47-38.80, P-value = 0.002) เด็กนักเรียนที่ไม่เคยมีประวัติการใช้แชมพูฤทธิ์กำจัดเหา (ORadj = 31.71, 95% CI = 11.7-85.95, P-value < 0.001) ผู้ปกครองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 8,000 บาท (ORadj = 5.97, 95% CI = 2.44-14.61, P-value < 0.001) และผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาที่ไม่ดี (ORadj = 7.25, 95% CI = 3.25-16.14, P-value < 0.001) ดังนั้นผู้ปกครองและคุณครูประจำชั้นควรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของเด็กนักเรียนทุกคน การตรวจเส้นผมและหนังศีรษะทุกสัปดาห์ การให้ใช้แชมพูฤทธิ์กำจัดเหาในกลุ่มที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีระดับผมยาว  
     คำสำคัญ โรคเหา การกลับเป็นซ้ำ นักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาตอนต้น 
ผู้เขียน
615110040-6 น.ส. เจษฎาภรณ์ แสนวัง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0