2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดช่องท้องและบทบาทของพยาบาลในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลแขวงบอริคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 23 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 38 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด Exploratory laparotomy บทบาทของพยาบาลในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด Exploratory laparotomy และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความวิตกกังวลในผู้ป่วยก่อนผ่าตัด Exploratory laparotomy ในโรงพยาบาลแขวงบอริคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างศึกษาจากผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง 56 คน แบ่งเป็นผู้ป่วย 48 คน พยาบาลจำนวน 8 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้แบบสอบถาม โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบไคว์สแควร์ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากร้อยละ 58.3 มีระดับความวิตกกังวลในระดับปานกลาง ร้อยละ 14.6 มีระดับความวิตกกังวลในระดับสูง โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพ ( =16.96, p=0.031) และ ประสบการณ์ผ่าตัด ( =6.55, p=0.038)นอกจากนั้นพบว่าบทบาทของพยาบาลในการเตรียมความพร้อมเพื่อการผ่าตัดช่องท้องมี 5 ด้านคือ 1) การเตรียมด้านร่างกาย ได้แก่ การซักประวัติ การเตรียมร่างกายเพิ่อการผ่าตัด 2) การเตรียมด้านจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ การพูดคุยสร้างสัมพันธภาพเพื่อลดความวิตกกังวล การให้กำลังใจและความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วย วิธีการจัดการกับความวิตกกังวล 3)การสอนการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ได้แก่ การให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด สถานการณ์ที่ผู้ป่วยต้องเผชิญ และอธิบายเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับเหตุการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระยะหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม การช่วยฟิ้นฟูสภาพและวิธีการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัด 4) การเตรียมครอบครัว ได้แก่ การให้ความรู้ให้กับครอบคัวของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเตรียมการผ่าตัด และการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด และ 5) การเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเตรียมเอกสารผลตรวจต่างๆทางห้องปฏิบัติการ และใบยินยอมการรักษา จากผลการศึกษาดังกล่าว เป็นแนวทางให้พยาบาลที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านอาชีพและประสบการณ์ผ่าตัด และพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการปรับสภาพจิตใจของผู้ป่วย  
     คำสำคัญ ความวิตกกังวล การผ่าตัด บทบาทพยาบาล 
ผู้เขียน
615060078-8 Mr. SAYTHONG XAYYAVONG [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0