2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ลักษณะทางระบาดวิทยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กรณีศึกษาที่โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 
Date of Acceptance 24 September 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 14 
     Issue
     Month มกราคม-มีนาคม
     Year of Publication 2021 
     Page  
     Abstract หลักการและวัตถุประสงค์: โรคไตเรื้อรัง ปัจจุบันถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบ Cross-sectional analytic study เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบคัดลอกข้อมูล จากเวชระเบียน ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Health Data Center Kalasin ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลนาคู ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 420 ราย ภาวะแทรกซ้อนทางไต หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากไตเรื้อรังระยะที่ 1 เป็นระยะที่ 2 – 3 กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากนั้นจึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ ค่า Crude Odds ratio, Adjust Odds ratio และ 95% Confident interval กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา : ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลนาคู ปี 2560-2562 พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ระยะ 1-3 จำนวน 779 คน โดยแยกเป็น เพศหญิง 527 คน คิดเป็นร้อยละ 67.70 เพศชาย 252 คน คิดเป็นร้อยละ 32.30 มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1 จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 27.20 ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 60.6 ปี ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 2 จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 35.19 ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 65.3 ปี และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำนวน 297 คน คิดเป็นร้อยละ 37.61 ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 66.5 ปี ในส่วนแนวโน้มความชุกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3 มีอัตราความชุกของโรคไตเรื้อรัง ดังนี้ ปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3 จำนวน 236 คน มีอัตราความชุกเท่ากับ 1.56 ต่อแสนประชากร ปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3 จำนวน 254 คน มีอัตราความชุกเท่ากับ 1.66 ต่อแสนประชากร และปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3 จำนวน 289 คน มีอัตราความชุก 1.87 ต่อแสนประชากร อัตราความชุกของโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3 ของโรงพยาบาลนาคูมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อายุ 70 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 3.84 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่า 70 ปี (AdjOR=3.84,95%CI;2.33-6.34,p<0.001) ระดับการศึกษามัธยมศึกษา สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ ร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับ ผู้มีระดับการศึกษาประถมศึกษา (AdjOR=0.23, 95%CI; 0.13-0.37, p<0.001) โรคประจำตัวร่วม ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่มีโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 6.10 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (AdjOR=6.10, 95%CI; 1.62-22.80, p=0.007) สรุปผลการศึกษา พบว่า อายุ 70 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษามัธยมศึกษา และโรคประจำตัวร่วมเป็นโรคไขมันในเลือดสูง มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  
     Keyword โรคไตเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนทางไต  
Author
615110047-2 Miss NARUEMOL BUSSAMONGKOL [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0