2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการเพิ่มความสุขในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน โดยใช้หลักสุนทรียสาธก กรณีศึกษา ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 ตุลาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ประจำปี 2563 ครั้งที่ 7 The 7th National Conference on Business Management and Innovation 2020 "Business Transformation" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 ตุลาคม 2563 
     ถึง 3 ตุลาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) (ปีที่ 7) พ.ศ. 2563  
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 359-366 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นหาประสบการณ์เชิงบวกในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และนำประสบการณ์เชิงบวกที่ค้นพบมาหาแนวทางในการเพิ่มความสุขของผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร โดยใช้หลักสุนทรียสาธก ในการทำการศึกษา ด้วยวิธีการตั้งคำถามเพื่อค้นหาประสบการณ์เชิงบวกในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 30 คน ค้นพบ จุดร่วมที่สำคัญ เช่น มีเพื่อนร่วมงานที่ดี มีทักษะในงานที่ได้รับมอบหมาย และจุดโดดเด่นที่สำคัญ เช่น ได้เรียนรู้งาน จากเหตุการณ์จริง เป็นต้น วิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีความสุข (PERMA Model) ทฤษฎีภาวะไหลลื่น (FLOW) ทฤษฎีความสุข (The Hamburger Model) การมองโลกในแง่ดี (Learned Optimism) และทฤษฎีจุดพลิกผัน (The Tipping Point) นำมาออกแบบเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มความสุขทั้งหมด 6 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการมื้อเที่ยงอยู่ด้วยกัน 2) โครงการเงินดี Happy Life 3) โครงการยืดเส้นยืดสาย บ่ายสองโมงครึ่ง 4) โครงการเรื่องงานที่ไหนก็ได้ 5) โครงการเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถผู้ปฏิบัติงาน 6) โครงการ“รักษ์”อาสา ผลการดำเนินโครงการพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความสุขมากขึ้นในการทำงาน มีความกระตือรือร้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น บรรยากาศในการทำงานดูผ่อนคลายมากขึ้น  
ผู้เขียน
615740214-9 นาย อภิรักษ์ คงจรรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0