2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 ตุลาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการประจำปี 2563 ครั้งที่ 7 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 ตุลาคม 2563 
     ถึง 3 ตุลาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) (ปีที่ 7) พ.ศ. 2563 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 719-726 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างคือประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปี และอาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น โดยที่ไม่จำกัดเพศ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความต้องการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และพฤติกรรมผู้บริโภค 6W1H ผลการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 15 – 25 ปี มีสถานภาพโสด ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 30,000 บาท ผลการศึกษาความต้องการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าพบว่า ในส่วนในด้านความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคต้องการรูปลักษณ์ที่มีความทันสมัย มีอายุการใช้งาน 6 – 10 ปี ความเร็ว 51 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่คือต่ำกว่า 60 นาที ระยะทางที่วิ่งได้ต่อครั้งคือมากกว่า 51 กิโลเมตรขึ้นไป ในด้านราคาที่ต้องการคือต่ำกว่า 20,000 บาท ช่องทางการจัดจำหน่ายของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการคือศูนย์บริการ การส่งเสริมการขายที่ต้องการคือการรับประกันสินค้า สื่อโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการโฆษณาที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีลักษณะทางกายภาพของร้านที่สามารถเดินทางไปได้สะดวก และท้ายที่สุดคือความต้องการทางด้านกระบวนการ ความสำคัญในการบริการที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบมากที่สุดคือการให้บริการที่ดี ดังนั้นหากในอนาคตเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้รถจักรยานยนต์ไปสู่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ประกอบการธุรกิจรถจักรยานยนต์จึงควรปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายจึงควรมีการศึกษาข้อมูลความต้องการเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ศึกษาได้เสนอข้อเสนอแนะคือควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้ผู้บริโภคได้รับรู้อย่างแพร่หลายเป็นวงกว้าง เพื่อที่จะได้เป็นการวางรากฐานการใช้งานในอนาคตอย่างมีทิศทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้รถจักรยานยนต์พลังงานเชื้อเพลิงนั้นจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในระดับมหภาค ดังนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนและทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมที่มีประสิทธิภาพ  
ผู้เขียน
615740090-1 นาย สรัล หงษ์กาญจนพงษ์ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0