2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ส่วนประกอบทางพฤกษเคมี ลักษณะโครมาโตแกรมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของอุตพิด บุกคางคกและบอน  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "นอร์ทเทิร์นวิจัย ครั้งที่ 6" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น 
     จังหวัด/รัฐ ตาก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 29 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ุ6 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1232-1237 
     Editors/edition/publisher ณิชชนันท์ บุญสุข, ศรีสมพร ปรีเปรม 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ อุตพิด บุกคางคก และบอน เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคในตำรายาแพทย์พื้นบ้าน เช่น อาการโรคผิวหนัง ฝีหนอง ใช้กัดเถาดานในท้อง แก้ท้องผูก แก้อักเสบ แก้ปวด ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้จึงทำการศึกษาส่วนประกอบทางพฤกษเคมีของพืชทั้งสามชนิด โดยการสกัดต่อเนื่องด้วยเมทธานอลโดยวิธี soxhlet extraction ทดสอบลายพิมพ์นิ้วมือด้วยเทคนิครงคเลขผิวบางและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ผลการศึกษา พบสารกลุ่มสเตียรอยด์ในพืชทั้ง 3 ชนิด เฉพาะอุตพิดและบุกคางคก มีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ การทดสอบลายพิมพ์นิ้วมือด้วยเทคนิครงคเลขผิวบางนั้นพบว่าสารสกัดของพืชทั้ง 3 ชนิด ไม่พบแถบสารเมื่ออ่านผลด้วย UV 254 นาโนเมตร แต่เรืองแสงที่ UV 366 นาโนเมตรและหลังจากสเปรย์ด้วยกรดซัลฟุริก10% ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าอุตพิดและบอนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ มีค่า IC50 ที่ 140.58, 193.89 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนค่า IC50 ของสารสกัดบุกคางคกอาจพบที่ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ทดสอบสูงกว่า 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร คำสำคัญ: สกัดแบบต่อเนื่อง, พฤกษเคมี, รงคเลขผิวบาง, ต้านอนุมูลอิสระ  
ผู้เขียน
615150006-2 น.ส. ณิชชนันท์ บุญสุข [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0