2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาแนวทางการปรับปรุงพันธุ์เพื่อลดไขมันช่องท้องในไก่ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 1 กรกฎาคม 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่
     เดือน มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 547-556 
     บทคัดย่อ การสะสมไขมันส่วนเกินเป็นปัญหาส�ำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตไก่ เนื่องจากเป็นเศษเหลือจากโรงเชือด และเป็นลักษณะที่ผู้บริโภคไม่ต้องการ ซึ่งพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงต่อการสะสมไขมันและเป็นเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพในการลดไขมันส่วนเกิน โดยพิจารณาจากค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม พบว่าอัตราพันธุกรรม (h2 ) ของ ปริมาณและเปอร์เซ็นต์ไขมันช่องท้อง มีค่าสูงในช่วง 0.52-0.71 ชี้ให้เห็นว่า เป็นลักษณะที่ตอบสนองต่อการคัดเลือกได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (rG ) ระหว่างน�้ำหนักตัวและปริมาณไขมันช่องท้องและเปอร์เซ็นต์ไขมันช่อง ท้อง มีค่าบวกปานกลางดังนั้นการคัดเลือกการเจริญเติบโตจึงส่งผลให้การสะสมไขมันเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ด้านคุณภาพ ซากพบว่า rG ระหว่าง ปริมาณไขมันช่องท้องและน�้ำหนักซากมีค่าเป็นเชิงบวก (0.23) ในขณะที่ rG ระหว่าง เปอร์เซ็นต์ไข มันช่องท้องและน�้ำหนักซากมีค่าเข้าใกล้ 0 ดังนั้น การคัดเลือกเพื่อลดปริมาณไขมันช่องท้องจึงอาจส่งผลเสียต่อน�้ำหนักซาก ในขณะที่การคัดเลือกเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ไขมันช่องท้องไม่ส่งผลเสียดังกล่าว นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์ไขมันช่องท้องยังสัมพันธ์ เชิงลบกับรสชาติของเนื้อ ในขณะที่ไขมันแทรกในมัดกล้ามเนื้อมี h2 ช่วง 0.08-0.18 และสัมพันธ์กับรสชาติเนื้อ ผลดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะที่เหมาะสมในการใช้ประกอบดัชนีคัดเลือกร่วมกับการเจริญเติบโต คือ เปอร์เซ็นต์ไขมันช่องท้อง และ ไขมันในกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพซาก และ รสชาติเนื้อ และพบว่ามีการรายงานถึงเครื่องหมายพันธุกรรมที่สามารถ ใช้คัดเลือกเพื่อลดไขมันช่องท้องหลายเครื่องหมายและที่มีอิทธิพลหลักได้แก่ ยีน HFABP, GH, IGFII และ MC4R 
     คำสำคัญ ไขมันช่องท้อง, ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม, เครื่องหมายพันธุกรรม 
ผู้เขียน
587030012-7 นาย ศุภนนท์ ตู้นิ่ม [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0