2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article แนวทางการให้แสงสว่างในสิมอีสานโบราณ 
Date of Acceptance 16 October 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล 
     Standard TCI 
     Institute of Journal ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 
     ISBN/ISSN  
     Volume
     Issue
     Month กรกฎาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2020 
     Page  
     Abstract บทความนี้นำเสนอการศึกษาการให้แสงสว่างภายในสิมอีสานโบราณ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และปริมาณของแสงสว่าง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยเทคนิคการให้แสงสว่างที่แตกต่างกัน ใช้วิธีการศึกษาโดยการสำรวจภาคสนามสิม จำนวน 8 หลัง ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และนครพนม เพื่อเก็บข้อมูลกายภาพของสิม ปริมาณและคุณภาพของแสงสว่าง ที่ส่งผลต่อการใช้งาน และบรรยากาศภายในสิม ตามลักษณะภายในของสิม จากนั้นจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แสดงบรรยากาศภายในสิมเป็นรูปภาพ เพื่อใช้ประกอบในแบบสอบถามความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากแสงสว่าง ได้แก่ความรู้สึกสงบ ความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ ผ่อนคลาย น่าสนใจ และสวยงาม โดยใช้มาตรวัดระดับความรู้สึกแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) จำนวน 5 ระดับ และประมวลผลด้วยวิธีทางสถิติในรูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance - ANOVA) โดยใช้ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม 1 ตัว (One-way ANOVA) จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบหลากหลาย (Multiple Comparison) เพื่อหาคำตอบในการปรับปรุงด้านคุณภาพแสงสว่าง การศึกษาการปรับปรุงด้านปริมาณแสงสว่าง ใช้วิธีการศึกษาโดยการนำภาพจำลองแสงสว่างภายในสิมที่ใช้ในการศึกษาการปรับปรุงด้านคุณภาพ มาจำลองปริมาณแสงสว่างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีปริมาณความสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งานทางสายตาที่เกิดขึ้นภายในสิม โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ปริมาณความสว่างที่แนะนำ ทั้งของประเทศไทย (TIEA) และต่างประเทศ (CIE, IESNA, CIBSE) และกำหนดชนิดหลอดไฟ ตำแหน่งดวงโคม การควบคุมวงจร เพื่อกำหนดรูปแบบการให้แสงสว่าง ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้งานในบริบทที่แตกต่างกัน ได้แก่ การใช้งานเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และใช้งานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเรียนรู้ศึกษาสถาปัตยกรรมและชมฮูปแต้ม ผลการศึกษานำเสนอแนวทางการให้แสงสว่างถายในสิม เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับการใช้งานในบริบทที่แตกต่างกัน แสงสว่างมีบทบาทช่วยปรับปรุงบรรยากาศภายใน สิมให้ดีขึ้นได้ การใช้เทคนิคในการให้แสงสว่างสำหรับผู้ใช้งานในบริบทที่แตกต่างกัน รูปแบบการให้แสงสว่างสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะเน้นการให้ความรู้สึกสงบ ความศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่รูปแบบการให้แสงสว่างสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง หรือฮูปแต้ม จะเน้นการให้ความรู้สึกน่าสนใจ และสวยงาม ผลการศึกษาการปรับปรุงปริมาณแสงสว่างภายในสิมพบว่า หากจำลองแสงสว่างให้ผ่านเกณฑ์ความสว่างที่แนะนำ ส่งผลให้บรรยากาศโดยรวมมีความสว่างมากเกินไป อาจลดทอนบรรยากาศบางอย่างที่ต้องการได้ การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับระดับความสว่างของหลอดไฟ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการควบคุมบรรยากาศที่เกิดจาก แสงสว่าง ซึ่งในบางกรณี บรรยากาศภายในสิมที่ได้จากการปรับปรุงแสงสว่าง มีความจำเป็นมากกว่าปริมาณแสงสว่างตามมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อใช้ในอาคารสมัยใหม่  
     Keyword สิมอีสาน แสงสว่าง แนวทางการให้แสงสว่าง 
Author
615200014-6 Mr. TEERAPHAT NONGHARNPITAK [Main Author]
Architecture Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0