Title of Article |
ตัวปรับความดันไฮดรอลิกด้วยตัวแปลงไฮดรอลิกชนิดมาตรฐานสั่งการทำงานด้วยวาล์วเปิด/ปิดความเร็วสูง |
Date of Acceptance |
9 March 2020 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
13 |
Issue |
2 |
Month |
นกรกฎาคม - ธันวาคม |
Year of Publication |
2020 |
Page |
112-123 |
Abstract |
งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ของระบบปรับความดันไฮดรอลิกด้วยตัวแปลงไฮดรอลิกชนิดมาตรฐาน ทำงานร่วมกับวาล์วเปิด/ปิดความเร็วสูงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับความดันภาระโหลดให้กว้างขึ้น โดยอาศัยสัดส่วนการขจัดของมอเตอร์ต่อปั๊มภายในตัวแปลงไฮดรอลิก (hydraulic transformer) ร่วมกับการควบคุมการไหลเข้าสู่ระบบของวาล์วเปิด/ปิดด้วยสัญญาณเปิดในหนึ่งคาบ (duty ratio) โดยมีวาล์วลิ้นทำหน้าที่จำลองภาระโหลด ซึ่งในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นั้น จะมีการพิจารณาความดันตกผ่านวาล์วเปิด/ปิดด้วย ส่วนมอเตอร์และปั๊ม จะพิจารณาโดยใช้ สมการในอุดมคติ ดังนั้น ค่า duty ratio สัดส่วนการขจัดของมอเตอร์ต่อปั๊ม และความดันตก จึงมีผลต่อค่าความดันภาระโหลดสมมูลและขนาดของการกระเพื่อม ซึ่งจากผลการศึกษาที่สภาวะคงตัวพบว่า การใช้สัดส่วนการขจัดของมอเตอร์ต่อปั๊มที่สูงขึ้น จะทำให้ช่วงของความดันภาระโหลดกว้างขึ้น และขนาดของการกระเพื่อมจะมีค่ามากที่สุดที่ค่า duty ratio เท่ากับ 0.6 ส่วนความดันตกผ่านวาล์วเปิด/ปิดนั้น จะทำให้ค่าความดันภาระโหลดสมมูลลดลงเป็นเชิงเส้นกับ duty ratio อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาที่สภาวะชั่วครู่ได้แสดงว่า การเพิ่มสัดส่วนการขจัดมอเตอร์ต่อปั๊ม ด้วยการเพิ่มการขจัดของมอเตอร์ทำให้เวลาเข้าสู่สมดุลลดลง แต่การกระเพื่อมเพิ่มขึ้น ในขณะที่การลดการขจัดของปั๊ม จะทำให้เวลาสู่สมดุลเพิ่มขึ้น แต่การกระเพื่อมมีค่าลดลง |
Keyword |
ตัวแปลงไฮดรอลิก วาล์วความเร็วสูง ความดันตก มอเตอร์และปั๊ม |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|