ชื่อบทความ |
การศึกษาออกแบบเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
ของคลังสินค้าอัตโนมัติ (AS/RS) ที่มีชั้นจัดเก็บแบบมอดุลาร์เซลล์และแบบดั้งเดิม โดยใช้การจําลองสถานการณ์
เพื่อการตัดสินใจ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
23 ธันวาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
32 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated storage and retrieval system, AS/RS) เป็นระบบคลังสินค้าที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากเป็นระบบคลังสินค้าที่มีจุดเด่นด้านประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ในแนวสูง ประกอบด้วยเครื่องจักรในการขนย้ายสินค้า และมีชั้นวางของสินค้าที่มีขนาดความสูงที่เท่ากัน แต่ในปัจจุบันพบว่าคลังสินค้าไม่ได้จัดเก็บสินค้าที่มีขนาดความสูงเท่ากันเสมอไป จึงทำให้ระบบ AS/RS ที่ชั้นจัดเก็บขนาดเท่ากันอาจไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย อีกทั้งทำให้เกิดการใช้พื้นที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างความสูงของชั้นจัดเก็บและความสูงของสินค้าที่จัดเก็บภายใน งานวิจัยนี้จึงสนใจนำเสนอและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบ AS/RS แบบ mini-load ที่มีชั้นจัดเก็บแบบมอดุลาร์เซลล์ (mini-load AS/RS with the rack of modular cells) และระบบ AS/RS แบบ mini-load ที่มีชั้นจัดเก็บแบบดั้งเดิมด้วยการจำลองสถานการณ์ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพระยะการเดินทางของ S/R machine และเวลาในการรับเข้า/จ่ายสินค้า โดยผู้ทำวิจัยเก็บข้อมูลสินค้า และการจ่ายออกของสินค้ามาจากคลังสินค้ากรณีศึกษาแห่งหนึ่งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ที่มีลักษณะความสูงของสินค้าที่แตกต่างกัน โดยผลการจำลองสถานการณ์พบว่าระบบ AS/RS ที่มีชั้นจัดเก็บแบบมอดุลาร์เซลล์ ทำให้ระยะการเดินทางของ S/R machine ลดลง 424.58 เมตร คิดเป็น 3.89% และสามารถลดเวลาการจัดเก็บ/จ่ายสินค้าลงได้ 242.37 วินาที คิดเป็น 92.51% เมื่อเปรียบเทียบกับคลังสินค้าเดิมที่ใช้มนุษย์และ ลดเวลาการจัดเก็บ/จ่ายสินค้าลงได้ 0.50 วินาที คิดเป็น 2.48% เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ AS/RS ที่มีความสูงของชั้นจัดเก็บแบบดั้งเดิม |
คำสำคัญ |
ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติแบบ mini-load ที่มีชั้นจัดเก็บแบบมอดุลาร์เซลล์ การจำลองสถานการณ์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|