2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากโงงานน้ำตาลด้วยกระบวนการยูวีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และยูวีเปอร์ซัลเฟตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 มกราคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากโรงงานน้ำตาลยังคงมีสารอินทรีย์หลงเหลืออยู่สูงทำให้เกิดสี กลิ่นและรส นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial regrowth) ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ต่อการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว จากกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงงานน้ำตาลด้วยกระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง (Advanced oxidation processes, AOPs) 2 ชนิดคือ กระบวนการยูวีร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (UV-H2O2) และยูวีร่วมกับเปอร์ซัลเฟต (UV-PS) ต่อการกำจัดสารอินทรีย์ โดยศึกษาผลของความเข้มข้นของสารออกซิแดนท์ (H2O2 หรือ PS) ที่อัตราส่วนความเข้มข้นคาร์บอนอินทรีย์ละลาย (Dissolved organic carbon, DOC) ต่อ H2O2 หรือ PS 1:1, 1:3, และ 1:5 ต่อการกำจัด UV absorbance at 254 nm (UV254), DOC และความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodegradable dissolved organic carbon (BDOC) /DOC) จากการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของ H2O2 และ PS ที่เพิ่มขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการกำจัด UV254 และ DOC เพิ่มขึ้น ที่อัตราส่วน DOC:H2O2 หรือ DOC:PS 1:5 พบว่ากระบวนการ UV-H2O2 และ UV-PS มีประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์สูงที่สุด โดยสามารถกำจัด UV254 ร้อยละ 58 และ 62 ตามลำดับ การกำจัด DOC ได้ร้อยละ 13 และ 16 ตามลำดับ ในขณะที่กระบวนการ UV-H2O2 และ UV-PS ที่อัตราส่วน DOC: H2O2 หรือ DOC:PS 1:1 ทำให้ค่า BDOC/DOC สูงที่สุดเท่ากับ 0.48 และ 0.60 ตามลำดับ (เพิ่มขึ้นจาก 0.29) ค่า BDOC/DOC ที่เพิ่มขึ้นของน้ำหลังจากผ่านกระบวนการ UV-H2O2 หรือ UV-PS บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการใช้กระบวนการทางชีวภาพต่อจาก AOPs ในการบำบัดสารอินทรีย์ 
     คำสำคัญ กระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง ยูวีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ยูวีเปอร์ซัลเฟต ความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ น้ำทิ้งโรงงานน้ำตาล 
ผู้เขียน
615040099-2 น.ส. ศุทรามาส ทากุ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0