ชื่อบทความ |
การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี: วงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัม |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
4 กุมภาพันธ์ 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
16 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม - เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
เวลาที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลกระทบทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางดนตรี ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับแนวคิดต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของสังคมโลก ดนตรีได้เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกับปัจจัยต่าง ๆ ในสังคม การเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้มนุษย์ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนเพื่อรักษาชีวิต ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของสังคมโลกย่อมส่งผลต่อรสนิยมของมนุษย์และส่งผลต่อพัฒนาการของดนตรี
วงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัมได้มีการประพันธ์กระสวนจังหวะและการแสดงขึ้นมาใหม่ โดยใช้แนวคิดจากทำนองเทศน์แหล่ (เทศน์เสียง) และชื่อในนินาทชาดก ซึ่งได้นำมาประยุกต์กับแนวคิดของหลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต ที่ท่านได้มาจากประสบการณ์ที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ จังหวะใหม่และรูปแบบต่าง ๆ ของการแสดงจากวงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัมที่ได้นำมาพัฒนา เรียบเรียงใหม่ ไม่ได้แค่ทำให้เกิดจังหวะใหม่เท่านั้น ยังเป็นการคงไว้ซึ่งกระสวนจังหวะหรือลายพื้นฐานเอาไว้ด้วย ถือเป็นการพัฒนาเพื่อรักษาไว้ซึ่งรูปแบบการบรรเลงกลองยาวแบบเดิม
การเปลี่ยนแปลงของจังหวะและรูปแบบการบรรเลงกลองยาวได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบททางสังคมและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เพื่อการดำรงอยู่และเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสังคมในปัจจุบัน การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไม่ใช่การรื้อทิ้งแต่เป็นการอนุรักษ์ให้คงไว้ต่อไป และวงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัมจะเป็นอีกตัวอย่างที่ดีของคณะกลองยาวในจังหวัดอุดรธานีต่อไป
|
คำสำคัญ |
คำสำคัญ : การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี, วงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัม, กลองยาว |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|