2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 ตุลาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย (Jaders e-journal) 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 44-58 
     บทคัดย่อ การวิจัยการออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาผู้ป่วยการใช้งานเตียงที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่วิจัย 2) เพื่อออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่วิจัย 3) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานเตียงของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่วิจัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลมีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คะแนน ADL อยู่ระหว่าง 5-13 คะแนน ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบได้มากในพื้นที่โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลใน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 15 ราย นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบในข้อกำหนดในการออกแบบ มีการใช้เครื่องมือในที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีแบบสัมภาษณ์, แบบสังเกตและแบบสำรวจ โดยใช้กรอบแนวคิดในการศึกษาข้อมูลที่มีปัจจัยส่งผลกระทบต่อการออกแบบ 1) สุขภาพร่างกาย ความเสื่อมถอยของร่างกาย วิธีการใช้งานที่เปลี่ยนไป 2) เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รายได้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม 3) สภาพแวดล้อม อารมณ์ จิตใจ พื้นที่ใช้สอยจำกัด ความโดดเดี่ยว หดหู่ เป็นภาระของลูกหลาน โดยนำผลการศึกษามากำหนดเป็นแนวคิดในการออกแบบโดยใช้กรอบแนวคิดการออกแบบเครื่องเรือนเพื่อผู้สูงอายุในชุมชนที่ศึกษา(สุรกานต์, 2556) คือ 1) ด้านหลักการออกแบบ คำนึงถึงความปลอดภัย ลดข้อจำกัดของร่างกาย 2) ด้านประโยชน์ใช้สอย ลดการเคลื่อนไหว ประหยัด พื้นที่ใช้สอยในบ้านและส่งเสริมสภาพจิตใจและอารมณ์ที่ดี 3) ด้านวัสดุ พิจารณาจาก สภาพแวดล้อมในชุมชน มีอยู่โดยทั่วไป หาได้ง่าย ราคาถูก บำรุงรักษาง่าย และ จากกรอบแนวคิดข้างต้นส่งผลให้ตัวเตียงนี้มีวิธีการผลิตจากภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่น ใช้วัสดุในท้องถิ่นมาผลิต ใช้ไม้แดง ไม้ตะแบกและไม้ประดู่ ผสานกับเทคนิคภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตเตียงให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ราคาไม่แพง ร่วมกับชุมชนในการผลิต รูปแบบเตียงเป็นเตียงที่สามารถปรับระดับความสูงของผนักพิงและความสูงของปลายเท้ามีข้อพับตรงข้อพับหัวเข่าได้ช่วยให้เลือดไหลเวียน สามารถขนย้ายได้ง่ายสะดวกเหมาะกับการขนส่งและยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านและส่งมองเตียงให้กับผู้ป่วยจำนวน 3 หลังทดลองใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก 
     คำสำคัญ เครื่องเรือน, ออกแบบเตียง, ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรง 
ผู้เขียน
605200018-7 น.ส. กุลนิษฐ์ สังคะรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0