2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองบริเวณเนื้อฟันส่วนรากฟันโดยสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์: การศึกษาในห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีการดูดกลืนรังสีเอกซ์ด้วยแสงซินโครตรอน  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 พฤศจิกายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 17 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
     จังหวัด/รัฐ ปทุมธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤศจิกายน 2563 
     ถึง 29 พฤศจิกายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 17 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 37-45 
     Editors/edition/publisher Benjamaporn Pitanuwat 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ต่อการคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองบริเวณเนื้อฟันส่วนรากฟันด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีการดูดกลืนรังสีเอกซ์ด้วยแสงซินโคร ตรอน รากฟันของฟันกรามน้อยมนุษย์จำนวน 40 ซี่ถูกสร้างรอยผุจำลองระยะแรกในชั้นเนื้อฟันและถูกนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ (1,000, 2,800, และ 5,000 ppm) เป็นเวลา 4 นาที วันละ 2 ครั้งในระหว่างเข้าสู่กระบวนการจำลองความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นระยะเวลา 10 วัน เพื่อจำลองสภาวะในช่องปาก ทำการศึกษาองค์ประกอบเคมีของเนื้อฟันส่วนรากฟันในระดับอะตอมเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับฟลูออไรด์และกลุ่มทดลองที่มีการดึงแคลเซียมอิออนออกจากสารละลายที่ใช้ในการทำให้เกิดการคืนกลับแร่ธาตุ โดยใช้เทคนิคสเปกโทรสโกปีการดูดกลืนรังสีเอกซ์ด้วยแสงซินโครตรอน (XAS) เปรียบเทียบปริมาณร้อยละของไฮดรอกซีอะปาไทต์และสารประกอบแคลเซียมต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะสเปกตรัมของชิ้นฟันตัวอย่างมีความใกล้เคียงกับไฮดรอกซีอะพาไทต์ และแอลฟาไตรแคลเซียมฟอสเฟต ปริมาณร้อยละไฮดรอกซีอะปาไทต์ภายหลังเข้าสู่กระบวนการจำลองความเป็นกรดด่างในช่องปาก พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม โดยกลุ่มสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ 2,800 ppm มีปริมาณร้อยละมากที่สุดคือร้อยละ 86.16 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าเนื้อฟันส่วนรากฟันประกอบด้วยสารอนินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นไฮดรอกซีอะพาไทต์ และแอลฟาไตรแคลเซียมฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบหลัก สารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ 2,800 ppm เพียงพอในการส่งเสริมการคืนกลับแร่ธาตุในการสร้างผลึกไฮดรอกซีอะปาไทต์ในฟันผุระยะเริ่มต้นบริเวณเนื้อฟันส่วนรากฟัน และบ่งชี้ถึงบทบาทของฟลูออไรด์อิออนและแคลเซียมอิออนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการคืนกลับแร่ธาตุให้สมบูรณ์ในรอยผุที่เกิดขึ้นระยะแรกบนรากฟัน 
ผู้เขียน
615130021-8 น.ส. เบญจมาภรณ์ ปิตานุวัฒน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 9