2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของไคโตซานต่อการดูดซับน้ำของเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (Effect of chitosan on imbibition performance of KDML105 (Oryza sativa L.) seed) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 มกราคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 (5th NCOST) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  
     สถานที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา  
     จังหวัด/รัฐ พระนครศรีอยุธยา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มกราคม 2564 
     ถึง 16 มกราคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 262-269 
     Editors/edition/publisher คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไคโตซานต่อการดูดซับน้ำของเมล็ดข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ภายหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดระยะ 10 และ 18 เดือน โดยแบ่งเมล็ดพันธุ์เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเมล็ดเคลือบไคโตซาน (C1) และเมล็ดไม่เคลือบ (C2) นำเก็บรักษาในภาชนะปิด ที่อุณหภูมิ 25-30 oC ออกแบบการทดลองเป็น 4 รูปแบบ คือ แช่เมล็ดในน้ำกลั่น, แช่เมล็ดในสารละลายไคโตซาน 50, 100 และ 150 ppm ตามลำดับ จากนั้นศึกษาน้ำหนัก ความชื้น และการดูดซับน้ำของเมล็ดทุก 2 ชม. (นาน 30 ชม.) และหาค่าร้อยละความชื้นของเมล็ด อัตราการดูดน้ำ และวิเคราะห์ผลทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาพบว่า การเก็บเมล็ดพันธุ์ส่งผลให้ความชื้น และน้ำหนักเมล็ดลดลง ซึ่งในระยะ 10 เดือน พบว่าความชื้นสูงสุดในเมล็ดที่ไม่เคลือบและแช่น้ำกลั่นเท่ากับร้อยละ 30.56±1.22 และอัตราการดูดซับน้ำสูงสุดในเมล็ดที่ไม่เคลือบและแช่ไคโตซาน 150 ppm เท่ากับ 0.14±0.00 ส่วนเมล็ดอายุ 18 เดือน พบค่าความชื้นสูงสุดในเมล็ดที่เคลือบและแช่ไคโตซาน 150 ppm เท่ากับร้อยละ 29.30±0.97 และอัตราการดูดซับน้ำสูงสุดในเมล็ดที่ไม่เคลือบและแช่น้ำกลั่นเท่ากับ 0.26±0.00 ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเคลือบเมล็ดทำให้ความชื้นลดลง ซึ่งไม่มีผลต่อเมล็ดอายุ 10 เดือน แต่มีผลต่อการดูดซับน้ำของเมล็ดอายุ 18 เดือน ในกลุ่มเคลือบเมล็ดและแช่ไคโตซาน 150 ppm ผลการศึกษาที่ได้คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการงอกของเมล็ดที่มีอายุเก็บรักษานานได้ดี  
ผู้เขียน
605020088-8 นาย สุภกร เขตมนตรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ ระบบชุดวิชา

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum