ชื่อบทความ |
ระบบสืบค้นเชิงความหมายสำหรับข้อมูลงานวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
10 มีนาคม 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสนเทศศาสตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วารสารสารสนเทศศาสตร์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
39 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฏาคม - กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์: การรวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาออนโทโลยีและระบบสืบค้นเชิงความหมายสำหรับข้อมูลวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ด้วยการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองหัวข้อ(Topic modeling)
วิธีการศึกษา:ใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ชุดข้อมูลทดสอบคือบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อใน Scimago Journal & Country Rank (SJR) ระหว่างปี ค.ศ. 2013-2019 จำนวนทั้งสิ้น 1,020 รายการ
ข้อค้นพบ: ผลลัพธ์ได้ออนโทโลยีสารสนเทศงานวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ที่ประกอบไปด้วยสามคลาสหลักและคุณสมบัติ(property)ของแต่ละคลาส คลาสหลักประกอบไปด้วยคลาส ResearchArticle, คลาส ResearchTopic และคลาส ResearchCategory จากนั้นนำออนโทโลยีไปสร้างเป็นระบบสืบค้นเชิงความหมาย ด้วยโปรแกรม Ontology Application Management (OAM) Framework ผลลัพธ์ระบบสามารถสืบค้นได้ตามคุณสมบัติของคลาส (Search Property) Research Article และสามารถสืบค้นตามหัวข้อ(Topic) Research Topic และหมวดหมู่(Category) Research Category ของงานวิจัย ผลการประเมินแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นการประเมินออนโทโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมอยูที่ระดับมาก ( =4.192) ส่วนถัดมาเป็นการประเมินประสิทธิภาพผ่านการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ (Application)ในการสืบค้นเชิงความหมายโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก( =4.109) และส่วนสุดท้ายใช้การประเมินประสิทธิภาพของระบบสืบค้นเชิงความหมายโดยนักสารสนเทศ โดยความแม่นยำ (precision) ร้อยละ 94.67 และความครบถ้วน (recall) ร้อยละ 89.87 ส่วนประสิทธิภาพโดยรวม (F-Measure) เท่ากับ ร้อยละ 92.21 ผลลัพธ์แสดงให้เห็นความแม่นยำ ความถูกต้อง และภาพรวมของระบบอยู่ในระดับสูง
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: (1) หัวข้อวิจัย (Research topics) ในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ที่มาจากการสกัดและวิเคราะห์ข้อมูลที่ปรากฏในบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการเสนอแนะหัวข้อวิจัย และกำหนดทิศทางการวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (2) ได้ออนโทโลยีสารสนเทศงานวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ที่ประกอบด้วยโครงสร้างข้อมูลระดับหมวดหมู่ (Class) และระดับหมวดหมู่ย่อย (Sub-class) รวมถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มาจากฐานข้อมูลบทความวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูลเชิงความหมาย และการเข้าถึงความรู้ที่มีในแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งที่มีอยู่บนเว็บและในฐานข้อมูล และ (3) ได้ระบบสืบค้นข้อมูลเชิงความหมายสำหรับการค้นคว้าบทความวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ที่มีการจัดเก็บข้อมูลบทความวิจัยตามโครงสร้างรายการบรรณานุกรม ที่ได้มาจากฐานข้อมูลงานวิจัยระดับนานาชาติ และยังสามารถเพิ่มเติมบทความวิจัยจากฐานข้อมูลอื่นๆ ที่มีการจัดเก็บบทความวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
|
คำสำคัญ |
ข้อมูลการวิจัย; สารสนเทศศาสต์; ออนโทโลยี; การสืบค้นเชิงความหมาย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|