2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาคุณลักษณะของลำดับดีเอ็นเอโปรเฟจในตัวอย่างทางคลีนิกของ Streptococcus agalactiae ในประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 มีนาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสถาบัน มข. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานอธิการบดี กองบริหารงานวิจัย 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม 2563
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ Group B Streptococcus (GBS) สามารถก่อโรครุนแรงได้ในเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัว เชื้อ GBS บางสายพันธุ์มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค หรือการระบาดในบางภูมิภาค ความหลากหลายทางสายพันธุ์ของแบคทีเรียอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงแบคเทอริโอเฟจ หรือเฟจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Temperate phage ในระหว่างการติดเชื้อแบบ Lysogenic infection โปรเฟจ (Prophage) ทำให้แบคทีเรียมียีนเพิ่มหรือลดลงได้ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานความสัมพันธ์ของโปรเฟจ และความรุนแรงของการติดเชื้อ และลักษณะทางระบาดวิทยาของ GBS ในการศึกษานี้ ต้องการศึกษาลักษณะของโปรเฟจในตัวอย่างทางคลินิกของ GBS ในประเทศไทย ด้วยเทคนิค Polymerase chain reaction (PCR) และการวิเคราะห์โปรเฟจในจีโนมด้วย PHASTER โดยเชื้อ GBS จากตัวอย่างต่าง ๆ จากโรงพยาบาลในหลายภูมิภาค 108 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์หาโปรเฟจโดยวิธี PCR กับไพรเมอร์ 6 คู่ นอกจากนี้เชื้ออีก 9 ตัวอย่าง ยังนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมด้วย PHASTER เทียบกับข้อมูลจีโนมในแหล่งข้อมูลสาธารณะของเชื้อสายพันธุ์เดียวกัน 7 ตัวอย่าง ผลการศึกษาด้วยเทคนิค PCR พบว่า 88.0% ของเชื้อ มีโปรเฟจอย่างน้อย 1 ชนิด โดยพบ Phage major capsid protein HK97 family พบมากที่สุด 51.0% การปรากฎของโปรเฟจถูกจำแนกเป็น 32 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 4 คือ BRO domain protein, prophage antirepressor prophage Sa05 พบมากที่สุดถึง 14.7% ผลการวิเคราะห์จีโนมด้วย PHASTER ทั้ง 16 ตัวอย่าง พบว่ามีโปรเฟจชนิดสมบูรณ์ Phage strept 315.3 มากที่สุด 77.8% และ 71.4% จากเชื้อในประเทศไทยและฐานข้อมูลสาธารณะ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบโปรเฟจที่พบเฉพาะเชื้อจากประเทศไทย ได้แก่ Phage strept T12, Phage strept Str PAP, Phage strept phi3396 และ Phage strept 20617 กล่าวโดยสรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เชื้อ GBS ที่แยกได้จากผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศไทยส่วนใหญ่มีโปรเฟจอยู่ในจีโนม และมีความหลากหลายของชนิดโปรเฟจที่พบ แต่ข้อมูลที่ได้ไม่สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างโปรเฟจกับการก่อโรคหรือสายพันธุ์กับการระบาด ข้อมูลลักษณะของโปรเฟจที่ได้นี้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากแบคเทอริโอเฟจเพื่อควบคุมเชื้อ GBS ในอนาคต  
     คำสำคัญ S. agalactiae, Prophage 
ผู้เขียน
605090010-3 นาย อาณัติ บัวรัตน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum