2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สารสกัดพรอพอลิสไทยต่อการต้านการอักเสบในเซลล์เนื้อเยื่อในของฟันมนุษย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม Community-led Social Innovation in the Era of Global Changes amidst Covid-19 Crisis: นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 
     สถานที่จัดประชุม อาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดนครศรีธรรมราช 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 กุมภาพันธ์ 2564 
     ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11th 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ CP149-CP157 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของสารสกัดพรอพอลิสไทยต่อกลไกต้านอักเสบผ่านระดับการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสของเอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนสทูในเซลล์เนื้อเยื่อในของฟันมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ โดยนำเนื้อเยื่อในจากฟันกรามซี่ที่สามมาเพาะเลี้ยงและกระตุ้นให้อักเสบด้วยอินเทอร์ลิวคิน-1เบต้าความเข้มข้น 10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง แล้วเติมสารสกัดพรอพอลิสไทยความเข้มข้นต่าง ๆ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมมาตรฐานเป็นเซลล์เนื้อเยื่อในปกติ กลุ่มควบคุมลบเป็นเซลล์เนื้อเยื่อในที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบ และกลุ่มควบคุมบวกเป็นเซลล์เนื้อเยื่อในที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบแล้วเติมยาต้านอักเสบอินโดเมทาซิน 10 ไมโครโมลาร์ เปรียบเทียบการแสดงออกอาร์เอ็นเอนำรหัสไซโคลออกซีจีเนสทูแต่ละกลุ่มกับกลุ่มควบคุมมาตรฐาน ผลพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับสารสกัดพรอพอลิสไทยความเข้มข้นสูง 1.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสไซโคลออกซีจีเนสทูสูงขึ้น (P<0.05) ส่วนกลุ่มที่ใส่สารสกัดพรอพอลิสไทยความเข้มข้นต่ำ 0.625, 0.3125, 0.15625 และ 0.078125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสไซโคลออกซีจีเนสทูลดลงใกล้เคียงกลุ่มควบคุมมาตรฐานและกลุ่มควบคุมบวก (P>0.05) สรุปสารสกัดพรอพอลิสไทยที่ความเข้มข้นสูงจะกระตุ้นการอักเสบ แต่ที่ความเข้มข้นต่ำสามารถต้านการอักเสบในเซลล์เนื้อเยื่อในของฟันมนุษย์ซึ่งน่าจะเหมาะสมนำมาพัฒนาวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในของฟันเพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดฟันได้ 
ผู้เขียน
615130020-0 น.ส. จิตรานุช คำทวี [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 9