2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประสานวานและความร่วมมือโครงการสานพลังประชารัฐจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษา หมู่บ้านสนวนนอก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 มีนาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประสานงานและความร่วมมือของ คสป. บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดบุรีรัมย์และคณะกรรมการชุมชน และ2) ศึกษาหาแนวทางทางการพัฒนาการประสานงานและความร่วมมือของ คสป. ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดบุรีรัมย์และคณะกรรมการชุมชน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ได้แก่ คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ (คสป.) เจ้าหน้าที่บริษัทประชารัฐรักสามัคคี และแกนนำชุมชน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล คือ นำข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เป็นการอภิปราการประสานงานความร่วมมือโครงการสานพลังประชารัฐ และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารแนวคิด ทฤษฎี คู่มือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมามีความหมายและตอบคำถามของการวิจัย มาวิเคราะห์ให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายเพื่อนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนาวิเคราะห์ตามกลุ่มแต่ละประเด็น แยกกลุ่มประเด็น ตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า การประสานงาน คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ (คสป.) และบริษัทประชารัฐรักสามัคคี มีการประสานงานในเรื่อง 1) องค์ประกอบและการประสานงาน ประกอบด้วย (1)การกำหนดวัตถุประสงค์ แผนงาน ปฏิบัติงานร่วมกัน (2)มีการแบ่งงานกันทำ (3)ลักษณะการปฏิบัติงาน (4)รูปแบบ วิธีการปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติงานตามรูปแบบครบถ้วน บริษัทประชารัฐรักสามัคคีและชุมชนสนวนนอก ปฏิบัติงานความร่วมมือ ในเรื่องของ 2) องค์ประกอบความร่วมมือ ประกอบด้วย (1)สิ่งจูงใจให้เกิดความร่วมมือ มีสิ่งจูงใจให้เกิดความร่วมมือ (2)การสร้างผู้นำใหม่ ไม่พบการสร้างผู้นำใหม่ 3) ลักษณะความร่วมมือประกอบด้วย (1)การร่วมรู้ มีการร่วมรู้ภายในชุมชน (2)การร่วมคิด มีการร่วมคิดในชุมชน (3)การร่วมแก้ปัญหา เกิดการร่วมแก้ปัญหาในชุมชน (4)ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับกิจกรรม ปฏิบิติงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (5)ผลประโยชน์ร่วมกัน เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน 4) ทรัพยากร ประกอบด้วย (1)เงิน งบประมาณเพียงพอ (2)วัสดุ อุปกรณ์ วัสดุ อุปกรณ์เพียงพอ 5) สภาพความสำเร็จ (1)รายได้เพิ่มขึ้น (2)เกิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชน (3)ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ สภาพความสำเร็จระดับที่ 2 เกิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จากผลการศึกษาดังกล่าวยังได้มีข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการประสานงานและความร่วมมือของ คสป. ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดบุรีรัมย์และคณะกรรมการชุมชน  
     คำสำคัญ การประสานงาน,ความร่วมมือ 
ผู้เขียน
595080071-8 นาย วันเฉลิม ข้องม่วง [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0