2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563 : การย้ำสิทธิ์ การบูรณะและการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 เมษายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วาสารการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิืืทยาลัยการเมือง และ การปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม – เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563 โดยใช้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ด้วยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามที่ชายแดนปราสาทสด๊กก๊อกธม ต.โคกสูง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความสำคัญอย่างมากในแง่ประวัติศาสตร์และความมั่นคง ทั้งยังตั้งอยู่ใกล้เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา จึงมี 3 หน่วยงานหลักเข้ามาจัดการ คือ หน่วยงานความมั่นคง กรมศิลปากร และหน่วยงานในพื้นที่ ส่วนผลการศึกษาการจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563 แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ 1) การจัดการชายแดน พ.ศ. 2534-2556 รัฐไทยมีเป้าหมายเพื่อย้ำสิทธิอันชอบธรรมเหนือปราสาทสด๊กก๊อกธม ท่ามกลางกรณีพิพาทเรื่องดินแดนและปราสาทพระวิหาร ด้วยการที่หน่วยงานความมั่นคงเข้าไปขอเช่าพื้นที่รอบปราสาทเพื่อสร้างหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) และอพยพประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเข้าอยู่อาศัย การประดับธงชาติไทย รวมถึงการที่กรมศิลปากรรีบเร่งดำเนินการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม 2) การจัดการชายแดน พ.ศ. 2557-2563 ยังคงให้ความสำคัญกับการย้ำสิทธิ์เหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ด้วยการจัดตั้งปราสาทสด๊กก๊อกธมให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งที่ 11 ของประเทศไทย การเปลี่ยนคำขวัญและตราสัญลักษณ์ประจำอำเภอโคกสูง ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาการจัดการชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านการดำเนินงานของฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการชายแดนเหนือปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความรอบด้านยิ่งขึ้น 
     คำสำคัญ การจัดการชายแดน/ ปราสาทสด๊กก๊อกธม/ ไทย-กัมพูชา/ สระแก้ว 
ผู้เขียน
605080008-6 นาย พิษณุวัฒน์ ยาพรม [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0