2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ คติสัญลักษณ์ในลวดลายประดับและภาพสลักรูปบุคคล ปราสาทศีขรภูมิ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัยครั้งที่ 5 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ร 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ Khonkaen 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 356 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ปราสาทศีขรภูมิ เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่16- 17 เป็นปราสาทขอมที่สร้างผสมสานระหว่างศิลปะแบบบาปวนกับศิลปะแบบนครวัดเพื่อเป็น ศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ปราสาทแห่งนี้มีลวดลายประดับปราสาทและทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร และเหล่าเทพต่างๆที่มีความสวยงาม บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง และนางอัปสราถือดอกบัว ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัดประเทศกัมพูชา แม้จะเป็นเพียงปราสาทเล็กๆแต่นับเป็นปราสาทขอมที่มีความงดงามที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีลวดลายประดับส่วนต่างๆที่สวยงามโดยเฉพาะบริเวณเสากรอบประตูทางเข้าปราสาทประธาน มีทับหลังนี้ ซึ่งเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของไทย รวมถึงมีภาพสลักรูปบุคคลเล่าเรื่องราวต่างๆสะท้อนทั้งความเชื่อและงานศิลปกรรมในรูปแบบศิลปะขอม การศึกษาคติสัญลักษณ์ในลวดลายประดับและภาพสลักรูปบุคคล ปราสาทศีขรภูมิทำให้ทราบถึงรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันกับงานช่างศิลปกรรมที่มีอิธิพลต่อการสร้าง คติความเชื่อที่แฝงอยู่ในคติการสร้างตัวปราสาทและสัญลักษณ์ต่างๆที่ปรากฏออกมาในรูปแบบภาพสลัก เพื่อใช้เป็นชุดความรู้ ข้อสันนิษฐาน เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบกับคติสัญลักษณ์ที่ปรากฏในศิลปะขอมที่อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน จากปัญหาที่พบเรื่องรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกปราสาทศีขรภูมินี้ พบว่า ยังขาดรูปแบบและเอกลักษณ์ ความน่าสนใจ ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่จังหวัดสุรินทร์ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวปราสาทศีขรภูมิ โดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านต่างๆตามนโนบายรัฐบาลที่ให้จังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวอีสานใต้ แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกปราสาทศีขรภูมิซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถซื้อได้ง่าย สร้างความประทับใจและเป็นที่จดจำให้กับปราสาทศีขรภูมิได้ ซึ่งผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาองค์ความรู้ด้านคติสัญลักษณ์ในลวดลายประดับและภาพสลักรูปบุคคล ปราสาทศีขรภูมิเพื่อนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไป  
ผู้เขียน
617220022-9 น.ส. เอกนารี แก้ววิศิษฎ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0