2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สัดส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลาง ที่มีการเตรียมการรองรับและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ตามมาตรฐานของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสหรัฐอเมริกา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 เมษายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Journal of Medicine and Health Sciences) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 28 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เป็นสภาวะทางสุขภาพที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตโดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์จึงมีความสำคัญ ในสถานประกอบกิจการเป็นบทบาทหน้าที่ของการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ทั้งนี้กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องยังมีช่องว่างและไม่ครอบคลุมถึงการเตรียมการรองรับและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เทียบเท่ามาตรฐานของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสหรัฐอเมริกา (U.S. OSHA) ที่เป็นสากลและเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลาง ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางในจังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมาที่มีการเตรียมการรองรับและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ตามมาตรฐาน U.S. OSHA โดยรูปแบบงานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามโดยมีเนื้อหาสองส่วน 1) ข้อมูลลักษณะโรงงาน และ 2) ระบบการเตรียมการรองรับและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ของโรงงาน ซึ่งประกอบด้วย การจัดทำนโยบาย กระบวนการเตรียมการ การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น และการตรวจสอบ ผลการศึกษาพบว่าสัดส่วนของโรงงานที่สามารถเตรียมการรองรับและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้อย่างครบถ้วนในประเด็นสำคัญตามมาตรฐาน U.S. OSHA เป็นร้อยละ 2.6 (95% CI 0.6 – 4.0) โดยทุกโรงงานนี้มีการใช้มาตรฐานสากลนอกเหนือจากกฎหมายไทย และมีนโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ครอบคลุมถึงการรองรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เมื่อพิจารณาตามประเด็นสำคัญ พบว่าประเด็นที่มีสัดส่วนต่ำได้แก่ การฝึกอบรมการกู้ชีพพื้นฐานอย่างครบถ้วนทุกโปรแกรมทั้งทางทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ตามแนวทางของ American Heart Association ร้อยละ 3.5 (95% CI 1.2 – 5.8) การจัดเตรียมเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดอัตโนมัติ ร้อยละ 6.5 (95% CI 4.6 – 9.1) และระบบการตรวจสอบภายหลังเกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ร้อยละ 9.1 (95% CI 7.5 – 11.6) สรุปได้ว่าโรงงานที่มีการเตรียมการรองรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างครบถ้วนมีสัดส่วนที่น้อย จำเป็นต้องให้การสนับสนุนในประเด็นเหล่านี้เพื่อพัฒนาแนวทางการเตรียมการรองรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ในโรงงานให้เทียบเท่ากับมาตรฐาน U.S. OSHA 
     คำสำคัญ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ การเตรียมการรองรับและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 
ผู้เขียน
615070026-1 นาย แธนธรรพ์ แสงภู่ [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0