ชื่อบทความ |
ผลของการทำไพรมิงต่อรูปแบบการดูดอุ้มน้ำ และความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
27 เมษายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
แก่นเกษตร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
กองบรรณาธิการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
49 |
ฉบับที่ |
6 |
เดือน |
พ.ย.-ธ.ค. |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวมีผลต่อการตั้งตัวของต้นกล้า และการเจริญเติบโตของข้าว การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) น้ำส้มควันไม้ (WV) และกรดซาลิไซลิก (SA) ในการทำไพรมิง ต่อรูปแบบการดูดอุ้มน้ำ (water imbibition) และความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ชัยนาท 1 และพันธุ์สกลนคร ที่เก็บเกี่ยวใหม่ เมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพเนื่องจากการเก็บรักษา 1 ปี และเมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพเนื่องจากการเร่งอายุ โดยมีกรรมวิธีการไพรมิง 13 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ คือ แช่เมล็ดในน้ำกลั่น (วิธีควบคุม), แช่เมล็ดในสารละลาย CaCl2 (ความเข้มข้น 0.1, 0.2, 0.5 mol) แช่เมล็ดในสารละลาย NaCl (ความเข้มข้น 0.1, 0.2, 0.5 mol) แช่เมล็ดในสารละลาย WV (ความเข้มข้น 1:500, 1:300 และ 1:200 v/v; น้ำส้มควันไม้:น้ำ) และแช่เมล็ดในสารละลาย SA (ความเข้มข้น 0.0004, 0.0007, 0.0011 mol) ผลการทดลอง พบว่า ข้าวทั้ง 2 พันธุ์ มีรูปแบบการดูดอุ้มน้ำที่คล้ายคลึงกัน เมื่อไพรมิงเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำกลั่น WV และ SA เมล็ดพันธุ์งอกโดยปรากฏรากแรกเกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกันที่ 20-36 ชั่วโมงหลังการแช่ ส่วนการไพรมิงเมล็ดพันธุ์ด้วย CaCl2 และ NaCl เมล็ดพันธุ์ใช้เวลาในการดูดอุ้มน้ำนานขึ้น นอกจากนี้ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และสกลนคร ที่เป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่และเมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพเนื่องจากการเก็บรักษา 1 ปี เมื่อไพรมิงด้วย WV 1:200 v/v และ SA 0.0007 mol ทำให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วขึ้นเมื่อประเมินความความงอกที่ 5 วันหลังเพาะ ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพเนื่องจากการเร่งอายุเมื่อประเมินความงอกที่ 5 วันหลังเพาะ เมล็ดพันธุ์ที่ไพรมิงด้วยสารละลาย และความเข้มข้นต่าง ๆ ทำให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วขึ้น และความงอกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดแห้ง และการไพรมิงด้วยสารละลายเกลือที่ความเข้มข้นสูง ทำให้ข้าวทั้ง 2 พันธุ์มีความงอกลดลง |
คำสำคัญ |
การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์; การแช่เมล็ด; น้ำส้มควันไม้ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|