2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ “บ้าน” ของคนไร้บ้านขอนแก่น "Home" of homeless people in Khon Kaen 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 เมษายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยปทุมธานี และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยปทุมธานี จัดในรูปแบบออนไลน์ (Online) 
     จังหวัด/รัฐ ปทุมธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 เมษายน 2564 
     ถึง 24 เมษายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) เมษายน 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 96-104 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร.จิราภรณ์ ขันทอง และคณะ/ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1/มหาวิทยาลัยปทุมธานี 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเรื่องสถานภาพ วิถีชีวิตของคนไร้บ้าน 2) ศึกษามุมมองของคนไร้บ้านที่มีต่อ “บ้าน” และ 3)ศึกษาบ้านในความคิดและความต้องการของคนไร้บ้าน ด้วยการเก็บข้อมูลโดยใช้สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมร่วมกับคนไร้บ้านจำนวน 12 คน โดยใช้แนวคิดเรื่องบ้าน (Concept of Home) และแนวคิดเกี่ยวกับคนไร้บ้านมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า (1) สถานภาพ และวิถีชีวิตของคนไร้บ้าน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น วิถีชีวิตคนไร้บ้านส่วนใหญ่ ช่วงกลางวันทำงานรับจ้าง หรือเก็บขยะเก็บของเก่า ช่วงเย็น จะไปรวมตัวกันดูหนังกลางแปลงที่ศาลหลักเมือง หรือพักผ่อน โดยนอนหลับพักผ่อนในพื้นที่ต่างๆ อาทิเช่น สถานี บขส.1 ศาลหลักเมือง สวนประตูเมือง เป็นต้น ในแง่ความสัมพันธ์ จะเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ แต่หากเป็นคนไร้บ้านที่เป็นผู้หญิงจะต้องอยู่แบบมีคู่ มีสามี เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายสูงกว่าคนไร้บ้านที่เป็นผู้ชาย คนไร้บ้านส่วนใหญ่ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นคนไร้บ้านเพราะยังมีบ้านให้กลับ เพียงแต่ตอนนี้ยังกลับไม่ได้ ในขอนแก่นสถานภาพของคนไร้บ้านนั้น เป็นผู้ที่ต้องได้รับความช่วยแหลืออย่างเร่งด่วนในด้านสิทธิบัตรประชาชน สิทธิด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัย การมีอาชีพมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและได้รับการจ้างงานที่เป็นธรรม และประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนไร้บ้านมากขึ้น (2) มุมมองของคนไร้บ้านที่มีต่อ “บ้าน” พบว่า คนไร้บ้านมีการนิยามความหมายคล้ายคลึงกับคนทั่วไป ในมิติทางกายภาพ โดยระบุว่าบ้านนั้นจะต้องมีโครงสร้างชัดเจน ไม่เคลื่อนที่ แข็งแรงมั่นคงสามารถ “กันแดดกันฝนกันลมได้” ในส่วนที่แตกต่างจากนิยามคนทั่วไป คือ เมื่อได้เดินทางจากบ้านเกิดนั่นหมายถึง การตัดความสัมพันธ์จากครอบครัว เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ มีเพียงบางรายที่ยังคงติดต่อสัมพันธ์กับครอบครัวเดิม (3) บ้านในแนวคิดและความต้องการของ คนไร้บ้าน ต้องเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีความมั่นคงถาวร แต่อาจจะไม่ต้องมีขนาดใหญ่โต มีองค์ประกอบของบ้านเหมือนกับบ้านของคนทั่วไป แต่ที่สำคัญที่สุด คือ บ้านจะต้องอยู่แล้วมีความสบายใจ เป็นอิสระ ไม่มีใครมารบกวน สามารถที่จะทำกิจกรรมต่างๆ กินอยู่หลับนอน โดยไม่สร้างความลำบากให้แก่ผู้อื่น โดยส่วนมากเลือกที่จะอาศัยอยู่เพียงคนเดียวหรืออยู่กับคู่สามีภรรยาที่เป็นคนไร้บ้านด้วยกัน คำสำคัญ: วิถีชีวิต, บ้าน, คนไร้บ้าน Abstract This qualitative research aims to 1) study the status and way of life of the homeless. 2) study the perspective of the homeless on the "home" and 3) study the home on the thoughts and needs of the homeless by collecting data using in-depth interviews and participatory observations with the homeless. A house of 12 people using the concept of home (Concept of Home) and the concept of homeless as a conceptual framework in this research. The study found that (1) the status and way of life of the homeless in Khon Kaen Municipality. The lifestyles of most homeless people During the day, work, hire or collect garbage and collect old things. In the evening, the homeless will go to the outdoor movies. Or relax by resting in various areas such as the bus station, Bor Sor 1, the City Pillar Shrine, the city gate garden, etc. In terms of the relationship between the people without each other, it will not be involved But if women are homeless, they must live in a married couple because they are at a higher risk of assault than male homeless. Most homeless people do not see themselves homeless because they still have a home to return, but they are not. In Khon Kaen, the status of the homeless They are urgently in need of help in the fields of public patents, the right to health, the right to secure housing, the right to occupation, have sufficient income to live. And get fair employment.The general public has more knowledge and understanding about the homeless. (2) the perspective of the homeless on the "home" is defined in the physical dimension similar to that of ordinary people, stating that the house must be structured. Not moving Strong, stable, able to "sunproof, rainproof, windproof" in a different part from the general definition is that when traveling from home, that means cutting off family ties to start a new life. Only some of them are still in contact with the same family. (3) The home in the concept and needs of the homeless must be constructions with permanent stability, but may not be large. It has the same elements of the house as the common house. But most importantly, the house must already have a comfortable, independent, unobstructed, able to do various activities. Eat, stay and sleep without causing trouble to others. Most homeless people choose to live alone or with a homeless couple. Keywords: “Way of life”, “Home”, “Homeless”  
ผู้เขียน
595080057-2 น.ส. เบญจมาศ ชุมตรีนอก [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0