ชื่อบทความ |
การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของสะบัก และการออกกำลังกายทั่วไปต่อการลดปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม: การทดลองแบบสุ่มทางคลินิก
(Comparative study between scapular stabilization exercise and general exercise on pain reduction in patients with scapulocostal syndrome: A randomized clinical trial) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
3 พฤษภาคม 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัย มข. (ฉบับ บัณฑิตศึกษา) E-ISSN 2672-9636 |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
E-ISSN 2672-9636 |
ปีที่ |
ที่ 22 |
ฉบับที่ |
ฉบับที่ 1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม 2565 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมและปิดบังผู้ประเมิน วัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลการออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของสะบักและการออกกำลังกายทั่วไปต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความเจ็บปวดและระดับกั้นความเจ็บปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจมในอาสาสมัครจ านวน 38 คน (เพศชาย 8 คน และเพศหญิง 30 คน) สุ่มเป็นสองกลุ่ม ๆ ละ 19 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อน คลื่นเหนือเสียง แตกต่างกันเพียงชนิดการออกกำลังกาย จากการรักษาจำนวน 12 ครั้งใน 4 สัปดาห์และติดตามผลอีกสองสัปดาห์พบว่า การออกกำลัง
กายทั้งสองชนิดสามารถลดระดับความเจ็บปวดได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) อย่างไรก็ตาม การ
ออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของสะบักสามารถเพิ่มระดับกั้นความเจ็บปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบ
ภายในกลุ่ม (p< 0.05) และมีแนวโน้มเพิ่มได้ดีกว่าการออกกำลังกายทั่วไป
ABSTRACT
This current study was anassessor-blind randomized controlled trial which was to compare the
effect between scapular stabilization exercise and general exercise on alteration of pain intensity and
pain pressure threshold. Thirty-eight patients with the scapulocostal syndrome (male= 8, female= 30)
were randomly divided into 2 groups. Participants in both groups were treated by hot pack, and
ultrasound similarly, except type of exercise within 4 weeks (12 sessions) and 2 weeks follow up.
Scapular stabilization exercise and general exercise were no significant difference to decrease pain
intensity ( p> 0.05) . However, scapular stabilization exercise can increase pain pressure threshold
significantly difference within group (p< 0.05), and could be an effective intervention more than general
exercise.
|
คำสำคัญ |
กลุ่มอาการสะบักจม การออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของสะบัก ระดับอาการปวด Keywords: Scapulocostal syndrome, scapular stabilization exercise, pain level |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|