2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ วิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกด้วยโปรแกรมประยุกต์ AI Chest for All (DMS TU) ในบริบทโรงพยาบาลมะเร็งระดับภูมิภาค 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 กุมภาพันธ์ 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารกรมการแพทย์  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน 1 มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ภูมิหลัง: โรคมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆทั้งในระดับโลกและระดับประเทศและมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี เพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงมีนโยบายการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด แต่กลับพบปัญหาการขาดแคลนรังสีแพทย์ หรือไม่มีรังสีแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ AI Chest for All (DMS TU) เพื่อช่วยลดภาระงานของรังสีแพทย์ในการแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอก วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณสมบัติของโปรแกรมประยุกต์ AI Chest for All (DMS TU) ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก วิธีการ: ใช้รูปแบบการศึกษา Retrospective descriptive study กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการสุ่มภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2562 จำนวนทั้งสิ้น 1,250 ภาพถ่าย และนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติเครื่องมือเพื่อประกอบการพิจารณาว่า AI Chest for All (DMS TU) เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปดอหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับวิธีการแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดเดิมซึ่งอาศัยการแปลผลโดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผล: AI Chest for All (DMS TU) มีค่าความไวเท่ากับ 76.4% (95% CI = 73.5% ถึง 79%) ค่าความจำเพาะเท่ากับ 89.3% (95% CI = 85.2% ถึง 92.6%) ความแม่นยำเท่ากับ 79% พื้นที่ใต้กราฟ ROC (AUC) ของ AI Chest for All (DMS TU) เท่ากับ 83% (95% CI = 81% ถึง 85%) และเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดเดิมซึ่งอาศัยการแปลผลโดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า AI Chest for All (DMS TU) มีค่าความไวน้อยกว่า แต่มีค่าความจำเพาะ ความแม่นยำ และ AUC ที่มากกว่า สรุป: จากผลการวิเคราะห์ในข้างต้นแสดงให้เห็นว่า AI Chest for All (DMS TU) เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางเลือกสำหรับแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด 
     คำสำคัญ โปรแกรมประยุกต์, AI Chest for All (DMS TU), ภาพถ่ายรังสีทรวงอก โรคมะเร็งปอด 
ผู้เขียน
625110014-8 น.ส. ภัทรนันท์ หมั่นพลศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0