2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD 
Date of Acceptance 13 May 2021 
Journal
     Title of Journal วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
     Standard TCI 
     Institute of Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
     ISBN/ISSN 1905-6036 
     Volume 16 
     Issue
     Month พฤษภาคม-สิงหาคม
     Year of Publication 2022 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD โดยให้นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหา เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD โดยให้นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบุ่งวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 9 แผน เวลา 9 ชั่วโมง 2) แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ 3) แบบบันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 4) แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 5) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 6) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 45.17 คิดเป็นร้อยละ 75.29 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 78.26 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยเท่ากับ 43.57 คิดเป็นร้อยละ 72.61 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 73.91 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  
     Keyword ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความคิดสร้างสรรค์, การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับ เทคนิค STAD  
Author
615050213-4 Miss TEERAYA CHOOKET [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0