2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 พฤษภาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 2586-9493 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการให้บริการสาธารณะแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐในปัจจุบัน และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 12 คน อายุระหว่าง 61-75 ปีและอาศัยอยู่ในและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่น จากการสุ่มเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้บริการสาธารณะแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐในปัจจุบัน ยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดขอนแก่น และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ความเพียงพอของการบริการ การเข้าถึงอุปกรณ์หรือเครื่องให้บริการ ขั้นตอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ค่าใช้จ่ายในการรับบริการ และการยอมรับคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาลนครสามารถเข้าถึงสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่าผู้สูงอายุนอกเขตเทศบาลนคร เพราะจำนวนอุปกรณ์หรือเครื่องให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตู้ ATM สาขาธนาคาร และสัญญาณอินเตอร์เน็ต มีมากกว่านอกเขตเทศบาลนคร และทักษะในการใช้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีสูงกว่าผู้สูงอายุนอกเขตเทศบาลนคร นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ว่า ความกลัวการใช้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการเข้าถึงสวัสดิการผู้สูงอายุแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้สูงอายุยังคงพึ่งพาความช่วยเหลือแบบตัวต่อตัว (Face-to-face) จากครอบครัวและชุมชนรอบข้าง เพื่อให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุเคยได้เรียนรู้ขั้นตอนการใช้งานจากลูกหลาน แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะกลัวจะทำผิดและสร้างความเสียหาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุขาดความเชื่อมั่นที่จะใช้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเองอีกด้วย 
     คำสำคัญ ความเหลื่อมล้ำ, การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐทางอิเล็กทรอนิกส์, ผู้สูงอายุ, ขอนแก่น  
ผู้เขียน
625280012-3 นาย จิรโรจน์ จิระเจริญวงศ์ษา [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0